วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2551

ชุดตรวจหวัดนกวันเดียวรู้ผลรับมือโรคระบาดทันใจ

1 ​เมษายน​ ​พ​.​ศ​. 2551

ผ่านมาหลายปี​ ​เชื้อไข้หวัดนกเริ่มกลาย​เป็น​เชื้อประจำ​ถิ่นฝังรกราก​อยู่​ใน​ไทย​ ​แต่นักวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย​ไม่​ยอมแพ้​ ​พัฒนากระบวนการตรวจเชื้อไข้หวัด​ให้​เร็ว​ขึ้นอีก​ ​รู้ผล​ได้​ภาย​ใน​ 24 ​ชั่วโมง​

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์​ : ​รศ​.​ส​.​พญ​.​ดร​.​สันนิภา​ ​สุรทัตต์​ ​ภาควิชาจุลชีววิทยา​ ​คณะสัตวแพทยศาสตร์​ ​จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย​ ​เปิดเผยว่า​ ​หลังเกิดโรคไข้หวัดนกระบาด​ใน​ไทยตั้งแต่ปี​ 2547

​ทีมวิจัยคณะสัตวแพทยศาสตร์​ได้​ศึกษาการระบาด​และ​ความ​รุนแรงของโรค​ทั้ง​ภาย​ใน​และ​ต่างประ​เทศมาตลอด​ ​จน​สามารถ​พัฒนาชุดตรวจสอบไข้หวัดนก​ ​เอช​ 5 ​เอ็น​ 1 ​ครอบคลุม​ถึง​ไข้หวัด​ใหญ่​ที่​ใช้​ต้นทุนการตรวจต่ำ​และ​รู้ผลภาย​ใน​ 1 ​วัน​ได้​สำ​เร็จ​

คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพขนาดใหญ่

“​ชุดตรวจสอบ​สามารถ​บอก​ได้​ว่าสารคัดหลั่งของคน​หรือ​สัตว์ที่นำ​มาตรวจวิ​เคราะห์มี​เชื้อไข้หวัด​ใหญ่​ ​หรือ​เชื้อไข้หวัดนก​ ​เอช​ 5 ​เอ็น​ 1 ​อยู่​หรือ​ไม่​ ​โดย​ต้นทุนต่อการตรวจหนึ่งครั้งเพียง​ 700-1,000 ​บาท​ ​และ​รู้ผลภาย​ใน​วันเดียว​“ ​นักวิจัยกล่าว​

​วิธีการที่ถือว่า​เป็น​วิธีมาตรฐานสำ​หรับการตรวจวินิจฉัยโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์​ ​เอช​ 5 ​เอ็น​ 1 ​คือวิธีการเพาะ​แยกเชื้อไวรัส​ใน​ไข่​ไก่ฟัก​หรือ​เซลล์​เพาะ​เลี้ยง​

​เมื่อนักวิจัย​ได้​เชื้อที่​จาก​ไข่ฟัก​แล้ว​ ​นำ​ไปทำ​การตรวจวิ​เคราะห์หาชนิดของเชื้อ​ ​ซึ่ง​กินเวลา​ 3-4 ​วัน​ ​ทำ​ให้​ล่าช้า​ใน​กรณีการตรวจหา​เชื้อ​ใน​มนุษย์​ ​ซึ่ง​ต้อง​การทราบผลภาย​ใน​ 1 ​วัน​ ​เพื่อการวางแผนสำ​หรับการรักษา​

​นักวิจัย​จึง​ปรับกระบวนการทดสอบ​ให้​สั้นลง​ ​แต่คง​ความ​แม่นยำ​เหมือนเดิม​ ​ใช้​สารคัดหลั่งของสัตว์ที่​ต้อง​สงสัยว่าติดเชื้อไข้หวัดนก​ ​หรือ​เชื้อไข้หวัด​ใหญ่​ ​มาสกัดแยกสารพันธุกรรม​ ​และ​เพิ่มจำ​นวนสารพันธุกรรม​ด้วย​เทคนิคพิ​เศษสำ​หรับแยกเชื้อไข้หวัด​ใหญ่​ ​หรือ​เชื้อไข้หวัดนกเอช​ 5 ​เอ็น​ 1 ​ออกมาหาสารพันธุกรรม​

​ชุดตรวจสอบที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้น​ใหม่​สามารถ​ตรวจคัดกรองเชื้อ​ทั้ง​ไข้หวัด​ใหญ่​ ​และ​ไข้หวัดนก​ ​เอช​ 5 ​เอ็น​ 1 ​โดย​ใช้​เชื้อสิ่งคัดหลั่ง​จาก​ตัวอย่างเพียง​ไม่​กี่ตัว​ ​สามารถ​แก้​ไขปัญหาการตรวจเชื้อไข้หวัดนกเดิม​ ​ซึ่ง​บางครั้งพบเชื้อเพียง​ 10-100 ​ตัว​ ​ทำ​ให้​ไม่​เพียงพอต่อการตรวจสอบ​

​การวิจัยดังกล่าว​อยู่​ใน​ระหว่างการต่อยอดทดลองระยะสอง​กับ​การทดสอบ​ความ​แม่นยำ​ของชุดตรวจสอบที่พัฒนาขึ้น​ ​คาดว่า​จะ​รู้ผลก่อนสิ้นปี​ ​โดย​ร่วม​กับ​มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์​ ​และ​สถาบันสุขภาพสัตว์​แห่งชาติทดสอบอีก​ 120 ​ตัวอย่าง​ ​ก่อนที่นำ​เทคนิคไปเผยแพร่​ยัง​สถานพยาบาลขนาด​ใหญ่​ประจำ​จังหวัด​

​เพื่อ​ใช้​เป็น​แนวทางป้อง​กัน​โรคไข้หวัดนกกลับมาระบาด​ใน​ไทยต่อไป​ ​และ​พัฒนา​ให้​เป็น​ชุดทดสอบแบบพกพา

กานต์ดา​ ​บุญเถื่อน

กรุงเทพธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น