ปัจจุบันการศึกษาไทย มีนโยบายมุ่งเน้น ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง...
และ การเลี้ยงดูบุตร – หลาน ก็เน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ...เช่นกัน
หนังสือเล่มนี้ ดิฉันได้อ่านเมื่อหลายปีมาแล้ว แต่เป็นหนังสือที่อยู่ในใจตลอด ถ้ามีโอกาส ก็จะแนะนำให้ผู้อื่นได้อ่านบ้าง คิดว่าน่าจะมีการพิมพ์ซ้ำอีกหลายครั้ง เล่มที่ ดิฉันมี พิมพ์เมื่อปี 2529 จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์กะรัต และพิมพ์ที่ อักษรสัมพันธ์การพิมพ์ กรุงเทพฯ
แม้ว่าจะเป็นเรื่องราวเมื่อยี่สิบกว่าปีมาแล้ว แต่เห็นว่า ยังทันสมัย และเหมาะสำหรับผู้ใหญ่ และเด็กในยุคปัจจุบัน ควรได้อ่านบ้าง หรือนักการศึกษาทั้งหลาย ที่จัดระบบการศึกษา จะเห็นรูปแบบการจัดระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย ... ดังกล่าว
“โต๊ะ โตะ จัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง” คือ หนังสือเล่มที่กล่าวถึง หนังสือเล่มนี้ เป็นตัวอย่างที่ดี ของการ เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง เป็นเรื่องราวของผู้ใหญ่ ที่มีความเข้าใจเด็ก ทั้งคุณแม่และคุณครูใหญ่ผู้ใจดี บันทึกจากผู้แปล คือ คุณผุสดี นาวาวิจิต บอกเหตุผลที่แปลหนังสือเล่มนี้ ไว้ว่า “สิ่งหนึ่งก็คือ เป็นหนังสือที่ให้ความรู้สึกร่วมกันระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ การสร้างคนให้มีคุณภาพ มีความนึกคิด และเป็นคนดี สามารถทำได้ไม่ยากนัก หากพยายาม”
“โต๊ะ โตะ จัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง” ฟังชื่อ ก็พอจะเดาได้ว่าเป็นหนังสือญี่ปุ่น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงกับผู้เขียน คือ คุณคุโรยานางิ เท็ตสึโกะ ในสมัยเป็นนักเรียนอยู่ที่โรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง เป็นความประทับใจที่ไม่เคยลืม สารจากผู้เขียน ตอนหนึ่งเล่าว่า... “เมื่อเขียนจบใหม่ ๆ ดิฉันเพียงแต่คิดว่า อยากให้ครูและแม่ที่มีอายุน้อยได้อ่าน และรับรู้ว่าเคยมีนักการศึกษาที่รักเด็ก เชื่อมั่นในตัวเด็ก และมีไฟ อย่างคุณครูโคบายาชิ อยู่ในโลกนี้ แต่อีกใจหนึ่งก็นึกไปว่า คงมีครูบางคนไม่เห็นด้วย เพราะคิดว่าเป็นเรื่องเพ้อฝัน สำหรับสังคมที่ต้องแก่งแย่งกันอย่างทุกวันนี้...
ครูโรงเรียนประถมศึกษาหลายแห่ง เขียนจดหมายมาบอกว่า ‘อ่านให้เด็กฟังทุกวัน ระหว่างรับประทานอาหารกลางวัน’ ครูสอนวาดเขียนบอกว่า ‘อ่านบางตอนให้เด็กเกิดจินตนาการ และวาดออกมาเป็นภาพ’ ครูชั้นมัธยมต้นคนหนึ่งเขียนมาว่า ‘อยากหางานอื่นทำ เพราะผิดหวังในระบบการศึกษาปัจจุบัน จะลองตั้งต้นใหม่อย่างคุณครูโคบายาชิ’
จดหมายเหล่านี้ ทำให้ดิฉันตื้นตันใจที่รู้ว่า มีครูคนอื่นที่เข้าใจคุณครูโคบายาชิ และเรื่องนี้ถูกนำไปประกอบการเรียนการสอนอย่างจริงจังตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว โดยตอน ‘คุณครูชาวนา’ เป็นส่วนหนึ่งในตำราภาษาญี่ปุ่น ชั้นประถมปีที่ 3 และตอน ‘โรงเรียนซอมซ่อ’ เป็นส่วนหนึ่งของวิชาศีลธรรมชั้นประถมปีที่ 4
จดหมายที่น่าเศร้าก็มีเหมือนกัน เช่น จากเด็กหญิงของสถานพินิจเด็กและเยาวชน เขียนมาว่า ‘ถ้าหนูมีแม่เหมือนแม่ของโต๊ะ โตะ จัง และมีครูอย่างครูโคบายาชิ หนูคงไม่ต้องมาอยู่ที่นี่’
.........ยกตัวอย่างเพียงเท่านี้ อยากอ่านขึ้นมาบ้างแล้ว ใช่ไหมคะ
“โต๊ะ โตะ จัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง” ไม่ใช่เรื่องจากจินตนาการ แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง และเป็นไปได้ ...ลองหามาอ่านดูนะคะ แล้วท่านจะรู้สึกเหมือนดิฉัน
สิ่งที่ดิฉันได้จากหนังสือเล่มนี้
1. มีความสุข อ่านกี่ครั้งก็รู้สึกอิ่มใจ และมีรอยยิ้มเสมอ
2. รับฟังเด็กพูดมากขึ้น และเข้าใจในพฤติกรรมของเด็ก
3. ได้แง่คิดที่ดี นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งชีวิตส่วนตัว และการทำงาน
มีอะไรบ้าง ... เล่าหมด เดี๋ยวไม่สนุก...
ถ้าหาอ่านไม่ได้จริง ๆ ดิฉันยินดีให้ยืมอ่านค่ะ ...ติดต่อผ่าน e-mail ในบล็อกนี้ได้นะคะ
หรือ สำนักพิมพ์ใด สนใจ ลองหามาอ่าน แล้วขอลิขสิทธิ์ จัดพิมพ์ใหม่ อีกครั้ง น่าจะเป็นการดี
วันนี้ขอแนะนำเล่มเดียวก่อน...พบกันใหม่คราวหน้า...สวัสดีค่ะ
“โต๊ะ โตะ จัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง”
เขียนโดย คุโรยานางิ เท็ตสึโกะ
แปลโดยได้รับลิขสิทธิ์ ผุสดี นาวาวิจิต
และ การเลี้ยงดูบุตร – หลาน ก็เน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ...เช่นกัน
หนังสือเล่มนี้ ดิฉันได้อ่านเมื่อหลายปีมาแล้ว แต่เป็นหนังสือที่อยู่ในใจตลอด ถ้ามีโอกาส ก็จะแนะนำให้ผู้อื่นได้อ่านบ้าง คิดว่าน่าจะมีการพิมพ์ซ้ำอีกหลายครั้ง เล่มที่ ดิฉันมี พิมพ์เมื่อปี 2529 จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์กะรัต และพิมพ์ที่ อักษรสัมพันธ์การพิมพ์ กรุงเทพฯ
แม้ว่าจะเป็นเรื่องราวเมื่อยี่สิบกว่าปีมาแล้ว แต่เห็นว่า ยังทันสมัย และเหมาะสำหรับผู้ใหญ่ และเด็กในยุคปัจจุบัน ควรได้อ่านบ้าง หรือนักการศึกษาทั้งหลาย ที่จัดระบบการศึกษา จะเห็นรูปแบบการจัดระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย ... ดังกล่าว
“โต๊ะ โตะ จัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง” คือ หนังสือเล่มที่กล่าวถึง หนังสือเล่มนี้ เป็นตัวอย่างที่ดี ของการ เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง เป็นเรื่องราวของผู้ใหญ่ ที่มีความเข้าใจเด็ก ทั้งคุณแม่และคุณครูใหญ่ผู้ใจดี บันทึกจากผู้แปล คือ คุณผุสดี นาวาวิจิต บอกเหตุผลที่แปลหนังสือเล่มนี้ ไว้ว่า “สิ่งหนึ่งก็คือ เป็นหนังสือที่ให้ความรู้สึกร่วมกันระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ การสร้างคนให้มีคุณภาพ มีความนึกคิด และเป็นคนดี สามารถทำได้ไม่ยากนัก หากพยายาม”
“โต๊ะ โตะ จัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง” ฟังชื่อ ก็พอจะเดาได้ว่าเป็นหนังสือญี่ปุ่น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงกับผู้เขียน คือ คุณคุโรยานางิ เท็ตสึโกะ ในสมัยเป็นนักเรียนอยู่ที่โรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง เป็นความประทับใจที่ไม่เคยลืม สารจากผู้เขียน ตอนหนึ่งเล่าว่า... “เมื่อเขียนจบใหม่ ๆ ดิฉันเพียงแต่คิดว่า อยากให้ครูและแม่ที่มีอายุน้อยได้อ่าน และรับรู้ว่าเคยมีนักการศึกษาที่รักเด็ก เชื่อมั่นในตัวเด็ก และมีไฟ อย่างคุณครูโคบายาชิ อยู่ในโลกนี้ แต่อีกใจหนึ่งก็นึกไปว่า คงมีครูบางคนไม่เห็นด้วย เพราะคิดว่าเป็นเรื่องเพ้อฝัน สำหรับสังคมที่ต้องแก่งแย่งกันอย่างทุกวันนี้...
ครูโรงเรียนประถมศึกษาหลายแห่ง เขียนจดหมายมาบอกว่า ‘อ่านให้เด็กฟังทุกวัน ระหว่างรับประทานอาหารกลางวัน’ ครูสอนวาดเขียนบอกว่า ‘อ่านบางตอนให้เด็กเกิดจินตนาการ และวาดออกมาเป็นภาพ’ ครูชั้นมัธยมต้นคนหนึ่งเขียนมาว่า ‘อยากหางานอื่นทำ เพราะผิดหวังในระบบการศึกษาปัจจุบัน จะลองตั้งต้นใหม่อย่างคุณครูโคบายาชิ’
จดหมายเหล่านี้ ทำให้ดิฉันตื้นตันใจที่รู้ว่า มีครูคนอื่นที่เข้าใจคุณครูโคบายาชิ และเรื่องนี้ถูกนำไปประกอบการเรียนการสอนอย่างจริงจังตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว โดยตอน ‘คุณครูชาวนา’ เป็นส่วนหนึ่งในตำราภาษาญี่ปุ่น ชั้นประถมปีที่ 3 และตอน ‘โรงเรียนซอมซ่อ’ เป็นส่วนหนึ่งของวิชาศีลธรรมชั้นประถมปีที่ 4
จดหมายที่น่าเศร้าก็มีเหมือนกัน เช่น จากเด็กหญิงของสถานพินิจเด็กและเยาวชน เขียนมาว่า ‘ถ้าหนูมีแม่เหมือนแม่ของโต๊ะ โตะ จัง และมีครูอย่างครูโคบายาชิ หนูคงไม่ต้องมาอยู่ที่นี่’
.........ยกตัวอย่างเพียงเท่านี้ อยากอ่านขึ้นมาบ้างแล้ว ใช่ไหมคะ
“โต๊ะ โตะ จัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง” ไม่ใช่เรื่องจากจินตนาการ แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง และเป็นไปได้ ...ลองหามาอ่านดูนะคะ แล้วท่านจะรู้สึกเหมือนดิฉัน
สิ่งที่ดิฉันได้จากหนังสือเล่มนี้
1. มีความสุข อ่านกี่ครั้งก็รู้สึกอิ่มใจ และมีรอยยิ้มเสมอ
2. รับฟังเด็กพูดมากขึ้น และเข้าใจในพฤติกรรมของเด็ก
3. ได้แง่คิดที่ดี นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งชีวิตส่วนตัว และการทำงาน
มีอะไรบ้าง ... เล่าหมด เดี๋ยวไม่สนุก...
ถ้าหาอ่านไม่ได้จริง ๆ ดิฉันยินดีให้ยืมอ่านค่ะ ...ติดต่อผ่าน e-mail ในบล็อกนี้ได้นะคะ
หรือ สำนักพิมพ์ใด สนใจ ลองหามาอ่าน แล้วขอลิขสิทธิ์ จัดพิมพ์ใหม่ อีกครั้ง น่าจะเป็นการดี
วันนี้ขอแนะนำเล่มเดียวก่อน...พบกันใหม่คราวหน้า...สวัสดีค่ะ
....สีตะวัน
“โต๊ะ โตะ จัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง”
เขียนโดย คุโรยานางิ เท็ตสึโกะ
แปลโดยได้รับลิขสิทธิ์ ผุสดี นาวาวิจิต
ที่มา : canon digital IXUS 60...สีตะวัน
เคยได้ยินคุณครูเล่าให้ฟังสมัยเรียนเหมือนกัน
ตอบลบแต่จำบ่ได่ค่ะ
อยากอ่านซ้ำ โดยอ่านจากของคนอื่น
จะได้อ่านไหมน๊า อิอิ
ปล. ขอเป็นเพื่อนคุณสีตะวัน
รับไว้ทักทายอีกคนได้ไหมเอ่ย :D
ด้วยความยินดียิ่งคะ
ตอบลบทำไง จะส่งหนังสือไปให้อ่านได้น้อ!
ส่งที่อยู่ทาง ปณ. มานะ
จะส่งหนังสือไปให้ยืมอ่าน...