โดยเฉพาะแถวๆอีสานในท้องถิ่นชนบท ที่อยู่ท่ามกลางป่าดงค่ะ
อาหารหลักที่ใช้ประกอบอาหารอย่างน้อยก็จะมีเมนูของเห็ด
สักหนึ่งมื้อล่ะ
หลายครั้งหลายคราเวลาอยูที่ twitter
มักจะพูดถึงเห็ดประจำกะน้อง @iTHA
ด้วยความออนซอนก็เลยแอบถ่ายมาฝากน้อง @iTHA
ไว้อ่านไว้ดูเล่นๆก่อนค่ะ :)
ไว้ปีหน้ามีโอกาสผ่านมาทางอำนาจเจริญ อุบลฯ
ค่อยแวะมานะคะ จะหาไว้แถมแกงให้กินกะมือเลย
สำหรับปีนี้ให้เอื้อยกินคนเดียวก่อนล่ะกัน -_-"
นี่คือเห็ดละโงกค่ะ สดๆจากป่า
ยังไม่ผ่านการขูดดินล้างน้ำค่ะ
จากหน้าตาของเห็ดบอกได้เลยว่า
ยังอ่อน ๆ เด็กๆ น่ากินที่สุดค่ะ
(ใครไม่เคยกิน อาจจะไม่เข้าใจหรือเข้าถึงความรู้สึกอร่อยของมัน)
แต่ไม่เป็นไรค่ะ เราขอไม่อธิบายสรรพคุณประโยชน์ของมันนะคะ
เดี๋ยวจะมีคนกินเพิ่มขึ้น ไม่ดีไม่ดี :P
ส่วนดอกบานๆเติ่งเขิ่ง และมีดอกน้อยๆเตาะเปาะ
เขียวอมขาวอมเหลืองบางๆ บ้านเฮาเอิ้นหว่า
"เห็ดไค" อันนี้เป็นเห็ดไคโพน(โพน หมายถึง ดินแข็งที่เกิดจากจอมปลวก
อาจจะร้างปลวกหรือยังมีจอมปลวก มีตัวเป็นๆอยู่บ้าง)
ถ้าเห็ดไคป่า มันจะออกบอบบาง สีเขียวสดกว่านี้
แต่ถ้าแกงจะไม่ค่อยอร่อย
ต้องปิ้งป่น หรือต้มป่น ตำเป็นน้ำพริกกินกะข้าวเหนียวก็แซ่บใช่หยอก
ลักษณะเด่นของเห็ดไคโพน คือมีกลิ่นหอม
ข้างล่างนี้เป็นเห็ดโคนค่ะ บ้านเฮาเอิ้นหว่า "เห็ดปลวก"
ถ้าเกิดในช่วงพฤษภา มิถุนายน จะอวบอั๋นหุ่นไม่ค่อยดี
เท่าช่วงนี้ เวลาเอามาทำอาหารจะหวานอร่อย เคี้ยวเปาะๆ
เหมือนได้ว่าขบสาวน้อยวัยละอ่อนล่ะ ^^"
(เทียบไปโน้น อิอิ)
เห็ดปลวกช่วงนี้กรกฏา...สิงหา มันจะออกคล้ำๆ
ขาเรียว ไม่ค่อยอวบอั๋น
แต่ถ้าทำสุกปรุงให้อร่อยๆหน่อยก็แซ่บไม่แพ้กัน
สำหรับเราชอบกินเห็ดโคนช่วงเกิดใหม่ๆ
ดอกตูมๆสดๆ ค่ะ
เห็ดโคนหรือเห็ดปลวกที่เรารู้จัก
มีเห็ดปลวกไก่น้อย เหมือนเห็ดเข็มค่ะ
เห็ดปลวกตาบ อันนี้จะดอกโตๆใหญ่ๆเกิดตามโพน
เห็ดปลวกฟาน ในภาพคือดอกที่ดอกออกสีอมแดงนิดๆ
แม่บอกว่าเห็ดปลวกฟานอร่อยกว่าเห็ดปลวกทั่วไป
เพราะงั้นใครมาเที่ยวมาเยี่ยมญาติทางอิสาน
อย่างน้อยเมนู "เห็ด" ต้องได้ขึ้นพาข้าวล่ะค่ะ
คร่าวๆ คือ "เห็ด" เป็นอาหารพื้นบ้านอีสานที่หาได้ง่ายในช่วงนี้ค่ะ
เพราะ เห็ดพวกนี้จะออกในช่วงต้นฤดูฝนมาเรื่อยๆ
จนถึงกลางฤดูฝน และจะเริ่มหมดไปเมื่อเข้าสู่ต้นหนาว
นับว่าเป็นช่วงเวลาที่เบิกบานสำหรับคนท้องถิ่นภาคอีสาน
ที่มีเห็ด แหล่งอาหารธรรมชาติไว้บริโภค
" เห็ดละโงก หรือ เห็ดไข่ห่าน (ทางเหนือ) "
มี 2 สี คือ สีขาว กับ สีเหลือง
ยังมีเห็ดที่ละม้ายคล้ายคลึงกับเห็ดละโงกขาว
คือ เห็ดละงาก ไม่รู้ว่าจังหวัดอื่นๆ เรียกว่าอย่างไร
แต่โซนบ้าน (อำนาจเจริญ อุบลฯ) เราเรียกแบบนั้น
วันนี้ได้เห็ดสำปะปี๋(เห็ดหลายอย่าง) มา
แต่ส่วนใหญ่เป็นเห็ดละโงก
อันนี้คือได้มายังไม่ได้ทำใดๆทั้งสิ้นค่ะ
เห็ดที่มือเราจับอยู่นี่
แกงอร่อยนะคะ เสียดายมันมีไม่ค่อยเยอะ
เราเรียกว่า "เห็ดผึ้งชาด"
นี่ก็เห็ดละโงกค่ะ
ดอกเด็กๆ
แดงๆภายใต้ดินบางๆเคลือบติดอยู่
เราเรียกว่าเห็ดแดง หรือเห็ดก่อ นั่นเอง
เห็ดแดง ก็แกงอร่อยค่ะ
วิธีทำแกงเห็ดรวม
ส่วนผสม
1. เห็ดละโงก, เห็ดดิน, เห็ดเผาะ, เห็ดผึ้ง ฯลฯ 1 กิโลกรัม
2. น้ำเปล่า 1 ลิตร
3. พริก, ตะไคร้, ใบแมลงลัก, ปลาร้า, ผงชูรส, น้ำปลา
4. ใบชะมวงป่า, ผักติ้ว, ใบมะขาม หรืออะไรก็ได้ที่มีรสเปรี้ยว ยกเว้นมะนาว หรือน้ำส้มสายชู
วิธีทำ
1. ล้างเห็ดให้สะอาด แล้วผ่าเห็ดดอกใหญ่ๆ แบ่งครึ่ง หรือขนาดพอคำ
หรือ ไม่ต้องแบ่งก็ได้แกงมันลงไปทั้งดอกนั่นแล
2. ต้มน้ำให้เดือด โขลกพริก ตะไคร้ ลงไปในหม้อ พร้อมกับเติมเกลือนิดหน่อย
3. นำเห็ดที่ล้างสะอาดแล้วใส่ลงไปขณะที่น้ำเดือด
4. ขณะน้ำเดือด เห็ดเริ่มสุก (สังเกตจากสีและกลิ่น) ให้ใส่น้ำปลาร้าลงไป
(เพราะน้ำเดือดจะทำให้กลิ่นปลาร้าไม่คาว) พอประมาณ
5. ปรุงรสด้วยน้ำปลา, ผงชูรส, หรือน้ำปลาร้าอีกนิดหน่อย
6. เมื่อทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย ใส่ใบแมงลักโปะลงไป ปิดฝา 3 นาที
7. ตักใส่ถ้วยเสิร์ฟกินกับข้าวเหนียวและแจ่วปลาร้าพริกสด (แจ่วบองไม่อร่อย)
หมายเหตุ : ย้ำนิดนึง อย่าใส่น้ำเยอะ เพราะลำพังน้ำที่มาจากดอกเห็ดมันก็จะออกมาเพิ่มทีหลังเยอะอยู่แล้ว
ฉะนั้นเห็ด 1 โล จึงไม่ควรเติมน้ำเกิน 1 ลิตรครึ่ง
อ้อ ...เห็ดมีคุณค่าทางอาหารสูงนะ โดยเฉพาะโปรตีน
ภาพ : Nokia N72
เห็นแล้วอยากินแกงเห็ดละโงก..นะ
ตอบลบไม่ได้กินมานานแล้ว..ไม่กล้าซื้อกลัวจะเป็นเห็ดละงากไป
เห็ดป่า..หายาก และถ้าไม่เชี่ยวชาญ..ก็อันตรายค่ะ
จึงได้กินแต่เห็ดฟาง เห็ดหอม และเห็ดหูหนู..
ขอบคุณภาพสวย ๆ และข้อมูลดี ๆ ค่ะ...^_^
เห็ดละโงก สังเกตจากดอกที่โผล่มาจากถุงค่ะ
ตอบลบถ้าดอกตูมยังอยู่ในผ้าถุงเห็ด ก็บอกได้ยาก
เห็ดละโงก ให้สังเกตที่ผิวดอกค่ะ
ถ้าเรียบเป็นลื่นๆก็ใช่เลย
แต่หนูชอบกินชนิดสีเหลืองๆค่ะ
ดูง่าย จำง่ายค่ะ
หนูชอบกินทุกเห็ดเลยค่ะ :P
เห็ดซื้อจากฟาร์มที่ไม่ได้เกิดจากธรรมชาติ
ส่วนมากจะซื้อที่เป็นเห็ดขอน
ปล.ช่วงนี้เห็ดออกเยอะค่ะ
วันนี้ได้กินเห็ดโคนด้วยล่ะค่ะ
เป็นตาแซบคัก วาแทเห็ดไครเด้อปิ้งดีๆตำแจ่ว คักขนาด
ตอบลบ