ถือเป็นเรื่องธรรมชาติที่ทุกคนต้อง “เรอ-ผายลม”
แต่คงไม่พึงประสงค์นักหากผิดที่ผิดทาง
สิ่งเหล่านี้เกิดจากการมีก๊าซในทางเดินอาหาร
ซึ่งร่างกายต้องขับออกมาอยู่เป็นประจำ
แต่หากมีมากเกินไปจะทำให้เกิดการจุกเสียดแน่นท้อง
รวมทั้งอาการอื่น ๆ ตามมา
ยิ่งในภาวะปัจจุบันสังคมขับเคลื่อนให้คนทำงานแข่งกับเวลามากขึ้น
จำต้องรับประทานอาหารจานด่วนเกือบทุกวันเพื่อย่นระยะเวลาการไปถึงที่ทำงานให้เร็วขึ้น
หรือบางคนรีบร้อนจนไม่ทันเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
เมื่อวงจรชีวิตเร็วขึ้น ๆ ขณะ ที่ระบบของร่างกายยังทำงานในจังหวะจะโคนดังเดิม
โรคต่าง ๆ ก็ตามมา
โรคก๊าซในทางเดินอาหาร หลายคนอาจไม่ให้ความสนใจนัก
เพราะไม่มีผลร้ายแรงต่อร่างกาย แต่อาจบ่งชี้ว่า
คุณกำลังประสบกับภาวะโรคร้าย อยู่ !!
นพ.สว่างพงษ์ พูลทรัพย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุร ศาสตร์โรคทางเดินอาหารและตับ
ศูนย์การแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพ แนะนำว่า
ก๊าซในทางเดินอาหารนับวันยิ่งเป็นปัญหาทำให้มีผู้ที่ทนทุกข์ทรมานจากอาการเหล่านี้มากขึ้น
อาจเนื่องจากระบบการใช้ชีวิตของมนุษย์มีความรวดเร็วขึ้น
ส่งผลให้บริโภคอาหารที่ก่อให้เกิดก๊าซมากขึ้น ไปด้วย
ก๊าซในทางเดินอาหารเกิดจาก ปัจจัยแรกคือ กลืนอากาศเข้าไป
ส่วนใหญ่เป็นก๊าซไนโตรเจนและก๊าซออกซิเจน
คนส่วนใหญ่มักนึกไม่ถึงว่าโดยปกติเราจะกลืนก๊าซทุก ๆ ครั้ง
ที่กลืนน้ำหรืออาหารเฉลี่ยประมาณ 2.6 ลิตรต่อน้ำ 1.5 ลิตรต่อวัน
และอาจมากกว่านี้ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติซึ่งกลืนก๊าซโดย ไม่รู้ตัว
โดยก๊าซที่กลืนมักถูกขับออกด้วยการเรอและส่วนน้อยถูกขับออกด้วยการผายลมอย่างน้อยประมาณ 0.5 ลิตรต่อวัน
ปัจจัยที่สอง เกิดจากการสร้างก๊าซขึ้นมาของร่างกายส่วนใหญ่
โดยแบคทีเรียใน ลำไส้ใหญ่จะย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล
ที่ ย่อยยากบางชนิด และจากปฏิ กิริยาของสารในร่างกาย
กลุ่มนี้จะเป็นประเภท ก๊าซไฮโดรเจน, คาร์บอนไดออกไซด์, มีเทน
ตลอดจนก๊าซอย่างอื่นอีกเล็กน้อยอันจะทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์
“คนเราผายลมเฉลี่ย 10-20 ครั้งต่อวัน
ในปริมาณก๊าซที่ถูกขับออกมาถึง 0.5- 1.5 ลิตรต่อวัน
โดยไม่ขึ้นอยู่กับอายุหรือเพศ”
คนไข้มักมีอาการแน่นท้อง ท้องอืด เรอบ่อย ผายลมบ่อยกว่าปกติ
หรือเห็นผิดปกติ โดยอาการเหล่านี้ผู้ป่วยเองรับรู้ว่าเกิดก๊าซในทางเดินอาหารมากกว่าปกติ
ขณะเดียวกัน แพทย์ตั้งข้อสังเกตว่า หากมีอาการเหล่านี้บ่อย ๆ หรือนาน ๆ
บ่งชี้ได้ถึงคนไข้อาจเป็นโรคร้ายแรงอยู่เดิมแล้ว
อันจะกระตุ้น ให้เกิดก๊าซในทางเดินอาหารมากกว่าปกติ
เช่น โรคลำไส้แปรปรวน โรคกรดไหลย้อน แผลในกระเพาะอาหาร
มะเร็งในทางเดินอาหาร ฯลฯ
ดังนั้นควรให้ความสำคัญโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมาก
ตลอดจนคนที่ป่วยมานานและทวีความรุนแรงมากขึ้น
การรับประทานอาหารบางประเภทเป็นอีกปัจจัยกระตุ้นให้เกิดก๊าซในทางเดินอาหาร
ดังนั้นผู้ป่วยควรเลี่ยงอาหารประเภทนม ไอศกรีม เนย โยเกิร์ต น้ำอัดลม น้ำผึ้ง หรือของขบเคี้ยว
เช่น ถั่วต้ม ถั่วเหลือง ลูกอม หมากฝรั่ง ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด
มันฝรั่ง เมล็ดพืชอบแห้ง ตลอดจนกะหล่ำปลี บรอกโคลี เป็นต้น
ผู้มีภาวะเสี่ยงโรคนี้ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
หลีกเลี่ยงการพูดคุยในระหว่างกินอาหาร
เพื่อไม่ให้อากาศเข้าสู่ทางเดินอาหารมากเกินไป
และไม่ควรนอนหรือเอนตัวหลังรับประทานอาหาร
ควรออกกำลังกายอยู่เสมอเพื่อช่วยให้ลำไส้ ทำงานได้ดีขึ้น
ส่วนการรักษาด้วยยาบางชนิดจะออกฤทธิ์โดยกระตุ้น
การบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนบน
ซึ่งต้องระวังผลข้างเคียงในกรณีที่ใช้ยาติดต่อกันนาน
ดังนั้นคนไข้ไม่ควรบริโภคอาหารที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
อย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวอาจมาจากสาเหตุอื่น
เช่น ผู้ป่วยที่มีอายุมาก มีอาการมานานหรือแย่ลง
รวมทั้งมีอาการเตือน เช่น โลหิตจาง น้ำหนักลดผิดปกติ
ควรปรึกษาแพทย์ทันที เมื่อรู้เช่นนี้แล้วการรับประทานอาหารแต่ละมื้อ
และการใช้ชีวิตประจำวันจึงควรเอา ใจใส่
เพื่อจะได้ห่างไกลจากโรคร้าย มีชีวิตอยู่กับคนที่เรารักไปนาน ๆ
แหล่งที่มา : เดลินิวส์
---------------------------------------------
ปล. วันก่อนๆเจอในรายการทีวี ช่องไหนจำไม่ได้ค่ะ
เค้าบอกว่าคนเรา...99% จากการตดของคนเรา จะไม่มีกลิ่น
มีเพียง 1 % ที่เป็นก๊าซมีกลิ่นเหม็น
เพราะงั้นไม่ต้องสงสัยเลยค่ะว่า
ทำไมบางคนตด..แล้วเราไม่ได้กลิ่น
แน่นอนค่ะ...ดัง(จมูก)ของคนนั้นพิการ 100%
(สูญเสียการได้กลิ่น..เพราะงั้นใครตด..ก็ต้องมีกลิ่น
ไม่มีข้อยกเว้นแม้กระทั่งตดตนเองค่ะ)
55...5
:)
วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น