วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2551

ไขปริศนา​ '​ร่างกายมนุษย์​'

เคยทราบไหมว่า​ ​ร่างกายเรา​สามารถ​รับน้ำ​หนัก​ได้​ 3 ​เท่า​ของน้ำ​หนักตัวเวลา​เดินขึ้นลงบันได​ 6 ​เท่า​ของน้ำ​หนักตัวเวลาวิ่ง​ ​และ​ 12 ​เท่า​ของน้ำ​หนักตัวเวลานั่งยอง​ ​ๆ​ ​และ​นี่คือสิ่งที่สารคดีชุด​ HUMAN BODY: PUSHING THE LIMITS ​จะ​เปิดเผยข้อเท็จจริง​ให้​รู้ตลอดเดือนเมษายนนี้

​ร่างกายมนุษย์ถูกออกแบบมา​ให้​มี​ความ​เข้มแข็ง​ ​พละกำ​ลัง​ ​และ​ความ​ทรหดอดทน​ ​กระดูกของเรา​แกร่งราว​กับ​คอนกรีต​ ​แต่ก็ยืดหยุ่นพอที่​จะ​ไม่​แตกหักง่าย​ ​ๆ​ ​ไม่​ใช่​เท่า​นั้น​มัน​ยัง​เบาพอที่​จะ​ทำ​ให้​เรา​สามารถ​ออกตัว​ได้​เร็ว​ยิ่งกว่าม้า​แข่ง

​ซี่​โครงของเรา​จะ​ขยายออกอย่างชาญฉลาดเวลาถูกกด​ ​เพื่อป้อง​กัน​อวัยวะสำ​คัญที่​อยู่​ภาย​ใน​ ​การขยายตัวแบบนี้​เกิดขึ้นราว​ ​ๆ​ ​ปีละ​ 5 ​ล้านครั้ง​ ​นอก​จาก​นี้มัน​ยัง​ถูกสร้างมา​ให้​แข็งแกร่ง​ ​จน​สามารถ​รับน้ำ​หนักที่กดทับลงมา​ได้​ถึง​ครึ่งตัน​ด้วย

​ไม่​เพียง​เท่า​นั้น​ช่องว่าง​เล็ก​ ​ๆ​ ​ของ​ ​กระดูกอ่อน​ซึ่ง​เต็มไป​ด้วย​น้ำ​ใน​หัวเข่าของเรา​แข็งแรงกว่า​เชือกไนลอนสอง​เท่า​ ​กระดูกอ่อนผิวข้อ​นั้น​แข็งแกร่งกว่า​ไทเทเนียม​ ​และ​สามารถ​รับน้ำ​หนัก​ได้​ 7 ​ตัน​ ​กระดูก​ส่วน​เดียวที่​เติบโตเต็มที่ตั้งแต่​เกิด​อยู่​ภาย​ใน​หู​ ​ขณะที่​ใบหน้ามนุษย์ประกอบ​ด้วย​กระดูก​ 14 ​ชิ้น​ ​และ​กว่า​ 80% ​ของสิ่งที่​เรารับรู้​เกี่ยว​กับ​โลกนี้​ ​ผ่าน​เข้า​มาทางตา

​มนุษย์​เกิดมา​โดย​มีกระดูก​ 300 ​ชิ้น​ใน​ร่างกาย​ ​แต่​เมื่อเรา​เติบโต​เป็น​ผู้​ใหญ่​ ​เรา​จะ​มีกระดูกเพียง​ 206 ​ชิ้น​ ​เพราะ​กระดูกหลายชิ้นเชื่อมต่อ​กัน​เป็น​ชิ้นเดียว​ ​โดย​มี​เคลือบฟัน​เป็น​สารที่​แข็งที่สุด​ใน​ร่างกาย​ ​ส่วน​กระดูก​ถึง​แม้ด้านนอก​จะ​แข็ง​ ​แต่​โดย​รวม​แล้ว​มันเบา​และ​อ่อนนุ่มข้าง​ใน​ ​มันประกอบ​ด้วย​น้ำ​ราว​ 75%

​แต่​เชื่อ​หรือ​ไม่​ว่ากระดูกต้นขาของคุณแข็งแกร่งกว่าคอนกรีต​ ​โดย​มีกระดูกฟี​เมอร์​หรือ​กระดูกต้นขา​เป็น​กระดูกที่​แข็งที่สุด​ใน​ร่างกาย

​จึง​ไม่​น่า​แปลกใจเมื่อเราทุกคน​สามารถ​แสดง​ความ​แข็งแกร่งอันน่าทึ่งอย่างที่​ไม่​เคยนึกฝันว่า​จะ​ทำ​ได้​ ​ยามที่​ต้อง​เจอ​กับ​เหตุการณ์วิกฤติ​ ​ไม่​ว่า​จะ​เป็น​ตัวอย่างที่​เกิดขึ้น​กับ​แม็ท​ ​ซู​เทอร์​ ​ทั้ง​ที่ถูกพายุทอร์นา​โดดูดขึ้นไปก่อน​จะ​พ่น​เขา​ลงมาบนพื้นห่างออกไป​ 400 ​เมตร​ ​แต่​เขา​กลับ​ไม่​ได้​รับบาดเจ็บ​ใด​ ๆ

​ขณะที่นักปีนหน้าผาคนหนึ่งถูกหินหนักครึ่งตันกดทับ​ ​และ​พบว่าตนเองแข็งแรงพอที่​จะ​ยกหินก้อน​นั้น​ออก​ทั้ง​ที่​ไม่​น่า​เป็น​ไป​ได้​ ​หรือ​ชายคนหนึ่งเผย​ ​ให้​เห็นสิ่งที่หลงเหลือ​อยู่​จาก​ความ​ทรหดอันน่าทึ่งของบรรพบุรุษป่า​เถื่อนของเรา​ ​ด้วย​การว่ายน้ำ​เป็น​เวลา​ 14 ​ชั่วโมง​ ​จาก​ใน​อังกฤษ​และ​ไปจบที่ฝรั่งเศส

​แม้ร่างกาย​จะ​แข็งแกร่งเกินกว่าที่​เราคิด​ ​แต่ขณะ​เดียว​กัน​มันมี​เรื่องของ​ความ​รู้สึก​เข้า​มา​ ​เกี่ยวข้อง​ด้วย​ ​ลึกลงไป​ใต้​ผิวหนัง​ไม่​ถึง​หนึ่ง​ส่วน​ยี่สิบนิ้ว​ ​มี​เสาอากาศที่ทำ​ให้​เรา​สามารถ​สัมผัสโลกรอบตัว​ ​ชั้นผิวที่สำ​คัญนี้คือประตูสู่ทางด่วนข้อมูลข่าวสารขนานแท้​และ​ดั้งเดิม​ ​นั่นคือระบบประสาท

​เส้นประสาทนับล้าน​ ​ๆ​ ​จะ​ลำ​เลียง​ความ​รู้สึก​ทั่ว​ร่างกาย​และ​นำ​ไปสู่สมอง​ด้วย​ความ​เร็ว​กว่า​ 320 ​กิ​โลเมตรต่อชั่วโมง​ ​นี่คือเรื่องราวของเครือข่ายการสื่อสารที่สำ​คัญยิ่งของร่างกายมนุษย์​ ​ระบบประสาทของเรา​สามารถ​รักษาชีวิต​ผู้​คน​ไว้​ได้​เมื่อร่างกายถูกกดดัน​ถึง​ขีดสุด

​อย่างเหตุการณ์ที่​เกิดขึ้น​กับ​สองพ่อลูก​ ​เมื่อ​ทั้ง​คู่ติด​อยู่​ใน​เขตเอาต์​แบ๊กที่​ความ​ร้อนแผดเผาของออสเตรเลีย​โดย​ไม่​มีน้ำ​ ​การนับถอยหลังสู่​ความ​ตายของ​ทั้ง​สองก็​เริ่มขึ้น​ ​จนกระทั่งระบบประสาทของพวก​เขา​จุดชนวนระบบเอาชีวิตรอดที่ซ่อน​อยู่​ออกมา​ใช้​งาน​ ​ขณะที่พระวัดเส้าหลิน​สามารถ​ทนการทุบตีร่างกายแรง​ ​ๆ​ ​ได้​โดย​ไม่​กะพริบตา

​ทุกสิ่งทุกอย่างที่​เกิดขึ้น​กับ​ร่างกาย​ ​มนุษย์​นั้น​ ​มีสมอง​เป็น​ส่วน​สำ​คัญที่คอยสั่งการ​ให้​ทุกอย่างทำ​ตามหน้าที่ที่ควร​จะ​เป็น​ ​มันคืออวัยวะอันทรงพลังที่สุด​ใน​โลกธรรมชาติ​ ​ใน​วันหนึ่ง​ ​ๆ​ ​หน่วยประมวลผลกลางผลิตแรงกระตุ้นไฟฟ้ามาก​เท่า​กับ​โทรศัพท์​ทั้ง​โลกรวม​กัน

​สมองของเรา​สามารถ​เร่ง​ความ​เร็ว​ทำ​ให้​เวลาดู​เหมือนช้าลงเพื่อ​ช่วย​ให้​รอดพ้นอันตราย​ ​เมื่อเราถูกกดดันจน​ถึง​ขีดสุด​ ​สมอง​จะ​เข้า​มาทำ​หน้าที่ควบคุม​โดย​ไม่​บอก​ให้​เรารู้​ ​อย่างการที่มันทำ​ให้​นักผจญเพลิงทำ​สิ่งที่ถูก​ต้อง​เมื่อติด​อยู่​ใน​ความ​ร้อนแผดเผาของไฟป่า

​หรือ​ควบคุมร่างกายเรา​เมื่อมี​แรงกระ​ ​ตุ้นดึกดำ​บรรพ์ที่​เรียกร้อง​ให้​กินอาหารเกิดขึ้น​ใน​ตัวเรา​ ​และ​ปรับระบบของเรา​ใหม่​เมื่ออาหารหมด​ ​ทำ​ให้​คนที่คุ้นเคย​กับ​อาหารวันละสามมื้อ​และ​สามารถ​มีชีวิตรอด​อยู่​ได้​ 35 ​วัน​ ​โดย​ไม่​ได้​กินอาหารเลย

​ที่น่าประหลาดใจก็คือ​ ​เวลาที่สมองของเรามีกิจกรรมมากที่สุดก็คือเวลา​เรานอนหลับ​ ​ความ​ฝันคือผลลัพธ์ทางจินตนาการของการที่​ความ​คิดแยกแยะ​ความ​ทรงจำ​และ​ภาพต่าง​ ​ๆ​ ​จาก​ช่วงที่​เราตื่น​ ​เรา​ค้น​พบว่าการนอนหลับ​นั้น​สำ​คัญต่อสมองมากกว่าร่างกาย

​ติดตามระบบการทำ​งาน​ส่วน​ต่าง​ ​ๆ​ ​ของร่างกายมนุษย์​ได้​ใน​ HUMAN BODY: PUSHING THE LIMITS ​ออกอากาศทุกวัน​ ​พุธ​ ​เวลา​ 20.00 ​น​. ​เริ่ม​ 9 ​เมษายน​ ​ทางทรู​ ​วิชั่นส์​ 47.

เดลินิวส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น