วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2551

เด็กไทยโชว์ผลงานดาราศาสตร์ที่ญี่ปุ่น


คณะยุววิจัยดาราศาสตร์​ ​ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์​โลก​และ​ดาราศาสตร์​ (LESA) ​สำ​นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย​ (สกว​.) ​เข้า​ร่วมแสดงผลงานวิจัยด้านดาราศาสตร์​ใน​เวทีประชุม​ Junior Session in the Astronomical Society ​ณ​ ​กรุงโตเกียว​ ​ประ​เทศญี่ปุ่น​ ​ระหว่างวันที่​ 25-26 ​มีนาคม​ ​ที่ผ่านมา​ ​ภาย​ใต้​การสนับสนุนของสำ​นักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ​ (กทช​.)

​โดย​ภาย​ใน​งานมีการนำ​เสนอผลงานวิจัยด้านดาราศาสตร์ของนักเรียนญี่ปุ่น​จาก​ทั่ว​ประ​เทศกว่า​ 50 ​ชิ้น​ ​อาทิ​ ​การตรวจวัด​ความ​ถี่ฝนดาวตกเจมินิดส์​ด้วย​คลื่นวิทยุ​, ​การหาขนาดดาวเคราะห์น้อย​, ​จุดดับบนดวงอาทิตย์​ ​เป็น​ต้น​ ​อีก​ทั้ง​ยัง​มีการจัดแสดง​ส่วน​นิทรรศการ​ ​เวที​แลกเปลี่ยนชมรมดาราศาสตร์​ ​และ​การล้อมวงคุยแนะ​ความ​รู้​จาก​รุ่นพี่สู่รุ่นน้อง​ด้วย​

​ดร​.​มา​โกโต​ ​โยชิกาวา​ ​สมาคมดาราศาสตร์​แห่งประ​เทศญี่ปุ่น​ ​เปิดเผยว่า​ ​งานประชุม​ Junior Session in the Astronomical Society ​เป็น​กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาส​ให้​นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น​-​ปลาย​ ​ได้​มี​เวที​ใน​การเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านดาราศาสตร์ของตนเอง​ ​ซึ่ง​ไม่​เพียง​ช่วย​สร้างแรงบันดาลใจ​ให้​กับ​นักเรียน​ใน​การทำ​การศึกษาวิจัยด้านดาราศาสตร์​เท่า​นั้น​ ​แต่​ยัง​เป็น​การเปิดโอกาส​ให้​เด็กนักเรียน​ได้​ฝึกกระบวนการทำ​งานเช่นเดียว​กับ​นักดาราศาสตร์​ ​คือ​ ​การทำ​งานวิจัย​ ​การเขียนรายงาน​ ​และ​การนำ​เสนอผลงานสู่สาธารณชน​

​ซึ่ง​ใน​ปีนี้นับ​เป็น​โอกาสพิ​เศษที่​ได้​เชิญยุววิจัย​ ​ดาราศาสตร์​จาก​ประ​เทศไทย​เข้า​ร่วมแสดงผลงาน​ ​เนื่อง​จาก​เห็นว่า​เด็กไทยมีการทำ​งานวิจัยดาราศาสตร์ระดับสูง​ ​ใช้​ข้อมูลวิจัยเช่นเดียว​กับ​นักวิทยาศาสตร์​โลก​ ​ทำ​ให้​มีผลงานวิจัยที่ค่อนข้างลึกกว่า​เด็กญี่ปุ่น​ ​การร่วมแสดงผลงาน​ใน​ครั้งนี้​จึง​นับ​เป็น​ตัวอย่าง​ความ​สำ​เร็จที่​จะ​เป็น​แรงผลักดัน​ให้​เด็กญี่ปุ่นหันมาทำ​งานวิจัยเชิงลึกมากขึ้น​ ​ที่สำ​คัญ​ยัง​เป็น​เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล​ ​เทคนิคการทำ​งานวิจัยทางด้านดาราศาสตร์​ซึ่ง​กัน​และ​กัน

​ด้าน​ ​น​.​อ​.​ฐากูร​ ​เกิดแก้ว​ ​ผู้​อำ​นวยการศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์​โลก​และ​ดาราศาสตร์​ (LESA) ​สำ​นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย​ (สกว​.) ​กล่าวว่า​ ​ใน​งานประชุมครั้งนี้​โครงการ​ LESA ​ได้​ส่งตัวแทนยุววิจัยดาราศาสตร์​เข้า​ร่วมจำ​นวน​ 12 ​คน​ ​มีการนำ​เสนอผลงานวิจัย​ทั้ง​หมด​ 5 ​เรื่อง​ได้​แก่​ 1. ​การ​ค้น​หาดาวแปรแสงคาบยาว​ใน​เมฆแมกเจลแลน​ใหญ่​ 2. ​การหาระยะห่างของเมฆแมกเจลแลน​เล็ก​โดย​ใช้​ดาวแปรแสงแบบเซฟิด​ 3. ​การศึกษาประชากรดาวกระจุกเปิด​ 4.​การศึกษา​ความ​สว่างของการระ​เบิดของดาวแปรแสงแบบปะทุ​ใน​กา​แล็กซีทางช้างเผือก​และ​ M31 ​และ​ 5. ​การสังเกตการระ​เบิดของดาวหางโฮมห์​ใน​ปี​ 2007 ​ทั้ง​นี้​จะ​มีการตีพิมพ์รายงานวิจัยของนักเรียน​เป็น​ภาษาอังกฤษ​และ​ภาษาญี่ปุ่น​ด้วย​

​อย่างไรก็ดีการที่​เด็กไทยมี​โอกาสร่วมนำ​เสนอผลงานวิจัย​ใน​เวทีระดับนานาชาติครั้งนี้​ไม่​เพียง​ช่วย​เผยแพร่ชื่อเสียง​ให้​กับ​ประ​เทศไทย​ ​แต่​ยัง​เป็น​การเปิดโลกทัศน์​ให้​เด็กเห็น​ความ​หลากหลายของงานวิจัยด้านดาราศาสตร์​ ​สร้าง​ความ​สัมพันธ์​แลกเปลี่ยนเรียนรู้​กับ​ครู​และ​นักเรียนของญี่ปุ่น​ ​อีก​ทั้ง​ยัง​เป็น​การสร้างเครือข่าย​ใน​การแลกเปลี่ยนข้อมูล​ ​สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น​ด้วย​.

เดลินิวส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น