วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2550

โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ

วันนี้ขอแนะนำหนังสือเล่มเล็กอีกสักเล่ม

โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โดย พระธรรมปฎก




(ข้อความต่อไปนี้คัดปกหลังหนังสือ โดยไม่มีการตัดต่อ)

"... กายกับใจนั้นเป็นสิ่งอาศัยกันและกัน พอกายเจ็บป่วยไม่สบาย คนทั่วไปก็มักจะพาลจิตใจไม่สบาย เศร้าหมอง กระวนกระวาย กระสับกระส่าย ไปด้วย และในทำนองเดียวกัน เืมื่อจิตไม่สบายก็พลอยให้กายไม่สบายไปด้วย เริ่มต้นตั้งแต่รับประทานอาหารไม่ได้ ร่างกายเศร้าหมอง พิวพรรณซูบซีด เป็นสิ่งที่เนื่องอาศัยกัน

ในทางตรงข้าม คือในทางที่ดี ถ้าจิตใจดี สบาย บางทีก็กลับมาช่วยกาย เช่นในยามเจ็บป่วยถ้าจิตใจสบาย เช่น มีกำลังใจ หรือจิตใจผ่องใสเบิกบาน โรคที่เป็นมาก ก็กลายเป็นน้อย หรือที่จะหายยากก็หายง่ายขึ้น... ทั้งนี้ก็อยู่ที่ว่าจะช่วยทำใจของเราหรือรักษาใจของเราได้มากแค่ไหน "


กล่าวโดยย่อ สำหรับหลักปฏิบัติ (ตามที่ผู้เขียนเข้าใจ) ได้ดังนี้:

เมื่อกายดีจิตก็ดี ในทางกลับกันเมื่อจิตดีกายก็ดีตามไปด้วย


สำหรับหลักปฏิบัติโพชฌงค์นั้นมีทั้งหมด 7 ข้อ ประกอบด้วย
1) สติ
การระลึกได้ การรับรู้ของจิตไม่หลุดลอย ไม่หล่นหาย

2) ธรรมวิจัย
การไตร่ตรอง พิจารณา ค้นคว้า ความจริง(ธรรม) ความถูกต้อง สิ่งที่ดีงาม ที่เป็นประโยชน์

3) วิริยะ
มีความเพียรตั้งใจ มีความเข้มแข็ง

4) ปิติ
ทำใจให้มีความสุขอิ่มเอม ไม่เครียดไม่วิตก

5) ปัสสัทธิ
ความสงบเยือกเย็น ผ่อนคลาย

6) สมาธิ
ความตั้งจิตมั่นหรือแน่วแน่อยู่กับสิ่งนั้น ๆ ทำงานใด ๆ ก็ให้ใจแน่วแน่

7) อุเบกขา
วางเฉย การเรียบสงบของจิตที่เป็นกลาง ไม่เอนเอียง เฉยต้องสิ่งที่มากระทบ


อ่านเพิ่มเติม : พลังจิต.com

3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ2 กันยายน 2550 เวลา 11:52

    หนังสือเล่มเล็ก
    พกความหนาแน่นสิ่งดีดี..ได้อย่างน่าอ่าน
    มากเลยค่ะ^^"

    เคยได้ยินว่า"สุขภาพจิต(ใจ)ที่ดีย่อมมาจากร่างกายที่สมบูรณ์" นั่นคือความจริงที่ร้อยรัดกะหนังสือเล่มนี้จริงๆค่ะ

    เป็นหลักปฏิบัติที่ดีค่ะ
    แต่ฉันเองก็ยังทำไม่ได้หมดอยู่ดี แห่ะๆ:D

    ตอบลบ
  2. อ่า...ข้อ 3 นะ

    ไม่แน่จะหมายถึง มีความเพียรตั้งใจ มีความเข้มแข็ง

    น่าจะหมายถึง เหล้า กับ บุหรี่ และ Coyote มากกว่านะ

    ตอบลบ
  3. ืna: นั่นสิครับ

    เต้: ฮาอ่ะ
    (วิริยะ = น้ำ ชื่อเพื่อนคนหนึ่ง)

    ตอบลบ