บทความนี้ตัดตอนจาก บทความเกี่ยวกับสุขภาพจิต โดย กรมสุขภาพจิต
ต้องการอ่านเนื้อหาเต็ม ตามอ่านได้ที่นี่
full storyชนาธิป ศิริปัญญาวงศ์ นักสะกดจิตบำบัด จากชมรมนักสะกดจิตแห่งประเทศไทย เจ้าของประกาศนียบัตรนักสะกดจิตบำบัด ได้ให้ความเห็นว่า
ทั้งนี้ หลักการสะกดจิตตัวเองมีวิธีง่ายๆ คือ ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมบวกมากที่สุด โดยทำการสะกดจิตในช่วงสภาวะที่เหมาะสม คือ ภาวะเคลิบเคลิ้ม ช่วงก่อนนอนหรือเพิ่งตื่นนอน จิตใจสบายใจ มีความสุข หรือจินตนาการถึงสิ่งที่มีความสุข จิตใต้สำนึกก็จะเปิดแล้วพูดกับตัวเองเรื่อยๆ ในสิ่งที่ตนตั้งใจจะแก้นิสัย เช่น ตื่นเช้าขึ้นๆๆๆ ประมาณ 10 ครั้งก่อนเข้านอน ต่อเนื่องทุกวันจนเกิดการเปลี่ยนแปลง จึงบอกกับตัวเองต่ออีก 20 วัน เพื่อให้ผลการเปลี่ยนแปลงคงทนถาวร
“หากเข้าใจ ทำถูกขั้นตอน รับรองว่าแก้ปัญหาได้ 100% อย่างไรก็ดี ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจหรือเข้าใจไม่ครบ บางคนทำมา 10 ปีแล้วก็ไม่ดีขึ้น อีกทั้งอาจเรียนรู้มาผิดๆ หรืออ่านหนังสือที่เขียนผิดๆ แปลผิดๆ รวมทั้งการให้ข้อมูลกับตัวเองในแง่บวกว่า ฉันดีขึ้น เก่งขึ้น อดทนขึ้น สวยขึ้น ในคราวเดียว ฟังดูเผินๆ ดีแต่ผิดหลัก เพราะจิตใต้สำนึกนั้นจะรับข้อมูลมากมายแบบนั้นไม่ได้ การบอกตัวเองแบบนี้ ไม่ใช่สะกดจิตตัวเองแต่เป็นคำขวัญวันเด็กพวกขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน สรุปแล้วจิตใต้สำนึกไม่ได้อะไรสักอย่างเดียว”
ชนาธิปให้เทคนิคสำคัญอีกอย่างของการเปิดจิตใต้สำนึกเพื่อให้ข้อมูลกับตัว เองสู่การเปลี่ยนแปลงนิสัยว่า จะต้องหลีกเลี่ยงคำในด้านลบเช่น เราจะไม่พูดคำว่า “ฉันจะไม่สูบบุหรี่” “ฉันจะไม่กินเหล้า” แต่ให้พูดว่า “ฉันอยากเลิกบุหรี่” “ฉันอยากเลิกเหล้า” ก็คือ หลีกเลี่ยงคำว่า “ไม่” กับคำว่า “จะ” เหตุผลเพราะคำเหล่านี้เป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้ พร้อมกับบอกกับตัวเองด้วยคำและความหมายที่ตรง ง่าย กระชับ ให้ข้อมูลกับจิตใต้สำนึกจากปัญหาพื้นฐานง่ายๆ ไปปัญหาที่ยากและซับซ้อนขึ้น เมื่อข้อความเหล่านั้นเข้าสู่จิตใต้สำนึกไม่เกิน 20 วัน เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลง เช่น หากเป็นคนตื่นสายเมื่อให้ข้อมูลกับตัวเองว่า ตื่นเช้าขึ้น ก็จะตื่นเช้าขึ้นเองโดยไม่ต้องอาศัยนาฬิกาปลุก และเมื่อพบว่า ตื่นเช้าขึ้นจริงๆ ได้แล้วก็เลิกทำ แล้วค่อยบอกข้ออื่นๆ ต่อไป แต่หากไม่เป็นผล นั้นแสดงว่าผู้ทำการสะกดจิตต้องทำผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ให้ข้อมูลมากเกินไป ลำดับความยากง่ายไม่ถูกต้อง
อีกกระบวนการหนึ่งเป็นการเขียนป้ายบอกกับตัวเอง เช่น เขียนคำว่า “ตื่นเช้าขึ้น” ก็ติดไว้ในบ้านให้มากที่สุด เช่น ติดไว้หน้าห้องน้ำ ในห้องน้ำ ตู้เสื้อผ้า เมื่อเปิดตู้เสื้อผ้า ประตูห้องนอน โต๊ะกินข้าว ตู้เย็น ที่กระจกแต่งหน้า ซึ่งปกติแล้วในช่วงเวลาต่างๆ อย่างเมื่อตื่นใหม่ๆ จิตใจจะว่าง ช่วงที่นั่งตาจะลอยเมื่อสายตาเราไปพบกับป้ายเหล่านี้ก็จะเป็นตัวกระตุ้นจิต ใต้สำนึกของตัวเอง
“น่าแปลกในช่วงว่างๆ คนมักจะคิดแต่เรื่องร้ายๆ วนไปวนมา หรือคิดฟุ้งซ่านเหลวไหลไม่จบไม่สิ้น การติดป้ายเป็นการกระทำเพื่อหยุดกระบวนการนั้น หากหยุดไม่ได้เราจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่จะแย่ขึ้นทุกวันๆ ดังนั้นเมื่อตื่นเช้าก็ให้พูดกับตัวเองว่า ฉันขยันมากขึ้นทุกวันๆ ฉันสดชื่นๆ เลิกพูดเสียทีว่า โอ้ย! ขี้เกียจ เบื่อจังเลยไม่อยากไปทำงาน”
“ครั้งหนึ่งเคยมีเจ้าของกิจกรรมมาหาผมเขาติดป้าย สดชื่นมากขึ้น จนทั่วบริษัท ตอนแรกก็กลัวว่าจะรกแต่กลับกลายเป็นว่า พฤติกรรมคนในที่ทำงานนั้นเปลี่ยนไป ดังนั้นถ้าติดที่ทำงานหรือที่รถได้ก็ติดด้วยทำอย่างที่ผมแนะนำเยอะๆ รับรองมีการเปลี่ยนแปลงภายใน 1 เดือน แน่นอน”