วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2551

'​ยานสำ​รวจ​ใต้​น้ำ​' ​ไทยก็ทำ​เอง​ได้

2 เมษายน พศ 2551

กองทัพเรือเปิดพิมพ์​เขียว​ '​ยาน​ใต้​น้ำ​' ​ลำ​แรกของไทย​ ​หนุนงานวิจัย​ใต้​ทะ​เล​ ​ใช้​ปฏิบัติงานซ่อมบำ​รุงท่อแทนนักประดาน้ำ​ได้​ ​และ​ท่องเที่ยว​ใต้​ทะ​เล​ ​เตรียมพร้อมขึ้นโครงต่อเรือ​ ​คาดปลายปี​เห็นของจริง​

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์​ : ​พล​.​ร​.​ต​.​รศ​. ​พงศ์สรร​ ​ถวิลประวัติ​ ​นายทหารโครงการสำ​นักงานวิจัย​และ​พัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ​ (สวพ​.​ทร​.) ​กระทรวงกลา​โหม​ ​เปิดเผย​ถึง​ความ​คืบหน้า​ใน​การสร้างยาน​ใต้​น้ำ​ลำ​แรก​ ​โดย​ฝีมือคนไทยว่า​

​ขณะนี้ทีมงาน​ได้​ออกแบบยาน​ใต้​น้ำ​เสร็จสิ้น​แล้ว​ ​พร้อมส่งต่อพิมพ์​เขียว​ให้​กับ​ ​บริษัท​ ​อู่กรุงเทพฯ​ ​จำ​กัด​ ​นำ​ไปสร้างต้นแบบเพื่อทดสอบการ​ใช้​งานจริง​ ​โดย​อยู่​ระหว่างขั้นตอนการวางกระดูกงู​ ​และ​ขึ้นโครงเรือ​

คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพขนาดใหญ่

​โครงการสร้างยาน​ใต้​น้ำ​เกิดขึ้นภาย​ใต้​แนวคิดนำ​ยาน​ใต้​น้ำ​มา​ใช้​ประ​โยชน์​ใน​กิจการพลเรือน​ ​เช่น​ ​การสำ​รวจแหล่งทรัพยากร​ใต้​น้ำ​ ​การสำ​รวจวิจัยพื้นผิวท้องทะ​เล​ ​การท่องเที่ยว​ ​ภารกิจซ่อมแซมโครงสร้าง​ใต้​ทะ​เล​ ​เช่น​ ​ฐานแท่นขุดเจาะ​ ​ท่อ​ใต้​ทะ​เล​ ​และ​สายเคเบิล​ใต้​น้ำ​ ​เป็น​ต้น​

​โดย​พัฒนา​เทคโนโลยี​เป็น​ของตัวเอง​ ​จาก​การสนับสนุนของสำ​นักวิทยาศาสตร์​และ​เทคโนโลยีกลา​โหม​ (สวท​.​กห​.) ​และ​สำ​นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์​และ​เทคโนโลยี​แห่งชาติ​ (สวทช​.) ​ภาย​ใต้​งบประมาณโครงการ​ 30 ​ล้านบาท​

"กองทัพเรือมีศักยภาพ​ใน​การพัฒนา​เรือผิวน้ำ​ได้​เอง​ ​ดัง​นั้น​ ​การพัฒนายาน​ใต้​น้ำ​มี​ความ​เป็น​ไป​ได้​ ​ใน​ส่วน​ที่​เสี่ยงต่ออันตราย​และ​เรา​ไม่​สามารถ​พัฒนา​ได้​เอง​ ​จะ​รับถ่ายทอดเทคโนโลยี​จาก​บริษัทสร้างยาน​ใต้​น้ำ​ ​ประ​เทศอังกฤษ​ " ​นายทหารโครงการ​ ​กล่าว​

คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพขนาดใหญ่

​ระบบหลักของยาน​ใต้​น้ำ​ขนาด​เล็ก​แบ่งออก​เป็น​ 6 ​ระบบ​ ​คือ​ ​ระบบตัวเรือรับแรงกด​ ​ระบบออกซิ​เจนสำ​หรับการหายใจ​ ​และ​ระบบฟอกอากาศ​ ​ตรวจจับปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ขณะ​อยู่​ใต้​น้ำ​ ​ระบบการขึ้นลงของยาน​ด้วย​ถังบัลลาสต์ควบคุม​ด้วย​แรงดันลม​ ​และ​ ​โซลิด​ ​บัลลาสต์ที่​ใช้​ตะกั่ว​ช่วย​ถ่วงน้ำ​หนัก​

“​ยาน​ใต้​น้ำ​ ​คล้าย​กับ​เรือดำ​น้ำ​ย่อ​ส่วน​ ​แต่​ใช้​เทคโนโลยี​ไม่​สูงมาก​ ​ส่วน​เรือดำ​น้ำ​มีระบบควบคุม​ ​วิทยุสื่อสาร​ ​ระบบตรวจจับคลื่นเสียง​” ​นายทหารโครงการ​ ​กล่าว​

​คณะวิจัย​ได้​กำ​หนดขนาดมิติ​ ​ตลอดจนขีด​ความ​สามารถ​ของยาน​ใต้​น้ำ​ที่​จะ​ดำ​เนินการสร้าง​ให้​ลำ​เรือมีขนาด​ความ​ยาว​ 11 ​เมตร​ ​ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรอบยาน​ 1.8 ​เมตร​ ​ระวางน้ำ​หรือ​น้ำ​หนักประมาณ​ 27 ​ตัน​ ​ความ​เร็ว​ใต้​น้ำ​ประมาณ​ 5 ​นอต​ ​ขีด​ความ​สามารถ​ปฏิบัติการน้ำ​ลึก​ไม่​เกิน​ 50 ​เมตร​ ​บรรทุกลูกเรือ​ 3 ​คน​ ​ระยะ​เวลาปฏิบัติการ​ใต้​น้ำ​ 3 - 5 ​ชั่วโมง​

“​แม้กองทัพเรือ​ได้​ปลดระวางเรือดำ​น้ำ​ไปเมื่อประมาณ​ 70 ​ปีที่​แล้ว​ ​แต่การพัฒนาต้นแบบยาน​ใต้​น้ำ​จะ​เป็น​องค์​ความ​รู้​ใน​การสร้างยาน​ใต้​น้ำ​จะ​ช่วย​ให้​ไทย​สามารถ​พัฒนายาน​ใต้​น้ำ​ขึ้น​ใช้​เอง​ได้​ใน​ประ​เทศ​ ​โดย​มีราคาถูกลงเมื่อเปรียบเทียบ​กับ​นำ​เข้า​ ​แม้อุปกรณ์บาง​ส่วน​จะ​ต้อง​นำ​เข้า​จาก​ต่างประ​เทศ​ ​เช่น​ ​ระบบวิทยุสื่อสาร​ใต้​ทะ​เล​ ​ระบบควบคุมใบจักร​” ​นายทหารโครงการ​ ​กล่าว​

​ปัจจุบันยาน​ใต้​น้ำ​อยู่​ระหว่างการสร้าง​ ​และ​คาดว่า​จะ​แล้ว​เสร็จ​ใน​ช่วงสิ้นปี​ 2551 ​จาก​นี้​จะ​ต้อง​นำ​ไปทดสอบประสิทธิภาพการ​ใช้​งาน​ ​และ​ระบบควบคุมอีกประมาณ​ 4-5 ​เดือน​ ​ต้นแบบของยาน​ใต้​น้ำ​เมื่อเสร็จสิ้น​แล้ว​จะ​ส่งต่อ​ให้​กับ​หน่วยงาน​ให้​ทุนเพื่อนำ​ไปพิจารณาการ​ใช้​ประ​โยชน์ต่อไป

จุฑารัตน์​ ​ทิพย์นำ​ภา


กรุงเทพธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น