วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2551

ม​.​ศรีปทุม​ ​เปิดคณะ​ใหม่​ ​ดิจิทัลมี​เดีย

ึึ7 ​เมษายน​ ​พ​.​ศ​. 2551

ตอบรับกระ​แสงานแอนิ​เมชัน​และ​เกมเฟื่อง​ ​เตรียมการผลิตนักแอนิ​เมชัน​และ​นักพัฒนา​เกมมืออาชีพป้อนตลาดโลก​

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์​ :

มหาวิทยาลัยศรีปทุมเปิดเกมรุกยุคดิจิทัล​ ​เปิดคณะดิจิทัลมี​เดีย​ (School of Digital Media) ​ใน​ปีการศึกษา​ 2551 ​นี้​ ​รุดผลิตบุคลากรมืออาชีพป้อนสู่ตลาดอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์​ ​แบบครบกระบวนการ​ ​พร้อมทุ่มทุนสร้างห้องแล็บตัดต่อ​ใหญ่​สุด​ใน​ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง​ใต้​ ​ทั้ง​นี้​เพื่อ​ให้​สอดรับนโยบายของรัฐบาลที่หวังปั้นแอนิ​เมชัน​และ​เกมไทย​เป็น​หัวหอกสำ​คัญของอุตสาหกรรมซอฟต์​แวร์​

​รองศาสตราจารย์​ ​ดร​. ​สุชาย​ ​ธนวเสถียร​ ​คณบดีคณะดิจิทัลมี​เดีย​ ​มหาวิทยาลัยศรีปทุม​ ​เผย​ถึง​วิสัยทัศน์​ ​ว่า​ “​ปัจจุบันอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ของไทยมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อ​เนื่อง​ใน​ตลาดโลก​ ​และ​แรงงานของไทยถือว่า​เป็น​แรงงานที่มีคุณภาพเมื่อเทียบ​กับ​คน​ใน​วงการฮอลลีวูด​ ​และ​เป็น​ที่จับตามองของตลาดโลก​

ทั้ง​นี้​ ​การเติบโตของอุตสาหกรรมดังกล่าวเห็น​ได้​จาก​การ​ใช้​แอนิ​เมชัน​ใน​สื่อเอนเทอร์​เทนต่างๆ​ ​มี​ความ​ถี่​ให้​เราพบเห็น​กัน​มากขึ้นเรื่อยๆ​ ​ไม่​ว่า​จะ​เป็น​รายการโทรทัศน์​ ​ภาพยนตร์​โฆษณา​ ​ภาพยนตร์​ ​เกมคอมพิวเตอร์​ ​ทั้ง​ออนไลน์​และ​ออฟไลน์​ ​ความ​สมจริงเหล่า​นั้น​ ​ล้วน​ต้อง​การ​ใช้​ฝีมือ​จาก​บุคลากรที่ชำ​นาญงาน​โดย​เฉพาะ​ ​ซึ่ง​แบ่ง​

เป็น​ 2 ​กลุ่มหลักๆ​ ​คือ​ ​แอนิ​เมชัน​และ​เกม​ ​จาก​ข้อมูลของสำ​นักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์​แวร์​แห่งชาติ​ (องค์การมหาชน) ​ชี้ว่าสำ​หรับแอนิ​เมชัน​นั้น​ ​ขณะนี้มูลค่าตลาดมีสูง​ ​ถึง​ 2.5 ​พันล้านบาท​ ​ส่วน​เกม​อยู่​ที่​ 6 ​พันล้านบาท​ ​จะ​เห็น​ได้​ว่าตลาด​ยัง​มี​โอกาสขยายตัว​ได้​อีกมาก​”

​ดร​.​กมล​ ​จิราพงษ์​ ​รองคณบดีคณะดิจิทัลมี​เดีย​และ​หัวหน้าสาขาดิจิทัลอาร์ตส์​ ​กล่าวเสริมว่า​ “​การเรียนการสอนของคณะดิจิทัลมี​เดียมีจุดเด่นคือ​ ​นักศึกษา​สามารถ​เรียนรู้ประสบการณ์​ได้​ครบกระบวนการทำ​งานจริง​

ของ​ทั้ง​อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์​ ​ดัง​นั้น​คณะ​ใหม่​ของเรา​จึง​แบ่งสอน​ 2 ​สาขา​ ​เมื่อเรียน​หรือ​มี​โครงการต่างๆ​

ทั้ง​สองสาขา​ ​ก็​จะ​ทำ​งานร่วม​กัน​จนชิ้นงาน​ ​เสร็จ​เป็น​รูปธรรมเหมือนระบบการทำ​งานจริงๆ​ ​สาขาที่ว่านี้​ ​ได้​แก่​

สาขาดิจิทัลอาร์ตส์​ ​และ​สาขา​แอนิ​เมชัน​และ​เกม​ ​ซึ่ง​ทั้ง​สองสาขาล้วนมี​ความ​โดดเด่นทางสายอาชีพ​กัน​คนละด้าน​โดย​ดิจิทัลอาร์ตส์​ ​เน้น​ใน​เรื่องของการออกแบบ​และ​การสร้างสรรค์​ให้​ภาพออกมาสวยสมจริง​ ​ส่วน​แอนิ​เมชัน​

และ​เกม​ ​เน้น​ใน​เรื่องของการสร้างโปรแกรม​ ​ซึ่ง​ทั้ง​สองสาขา​เราคิดว่ามี​ความ​จำ​เป็น​อย่างมากที่​ต้อง​นำ​มา​เรียนรวม​กัน​ ​เพราะ​นักศึกษา​จะ​ได้​เข้า​ใจ​ ​และ​คุ้นเคย​ถึง​ระบบการทำ​งานจริง​ ​การเรียน​ใน​ลักษณะนี้​ ​ยัง​มีจุดเด่นอีกข้อ​

คือ​ ​เป็น​การปลูกฝังการทำ​งานแบบทีมเวิร์ค​ ​ทั้ง​ยัง​เรียนรู้​ได้​รอบด้าน​และ​เข้า​ใจ​ถึง​กระบวนการทำ​งานจริง​ ​มหาวิทยาลัยศรีปทุม​ ​ถือว่า​เป็น​ที่​แรก​ใน​ประ​เทศไทย​ ​ที่​เปิด​ให้​มีการเรียนการสอน​ใน​อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์​ ​แบบครบวงจร​”

ดร​.​กมล​ ​กล่าวเพิ่มว่า​ “​นอก​จาก​นี้​เรา​ยัง​มีการลงทุนด้านห้องแล็บ​ ​เช่น​ Animation Lab, Interactive Lab, Media Lab, Think Lab ​ประกอบ​ด้วย​คอมติวเตอร์ระดับเวิร์คสเตชันกว่า​ 150 ​เครื่อง​ ​พร้อม​ด้วย​ ​ซอฟต์​แวร์ชั้นสูง​ใน​การทำ​งานด้านคอมติวเตอร์กราฟิก​และ​อุปกรณ์มัลติมี​เดียอย่างครบครัน​ ​นับ​เป็น​อีกหนึ่ง​ความ​ภาคภูมิ​ใจของทางมหาวิทยาลัย​ ​ที่มีอุปกรณ์การเรียนการสอน​ ​ด้านดิจิทัลมี​เดียที่ทันสมัย​และ​ครบครัน​ ​แห่งแรก​ใน​เอเชีย​

เรากล้าพูดว่า​ เราลงทุน​ให้​กับ​คนที่​เรียน​ ​ทุ่มเท​ให้​กับ​อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ ​อย่างจริงจัง​ ​เพื่อ​ให้​สอดคล้อง​กับ​นโยบายของทางรัฐบาลอีก​ด้วย​”

นอก​จาก​การลงทุนด้านเทคโนโลยี​แล้ว​ ​ทางคณะดิจิทัลมี​เดีย​ ​มหาวิทยาลัยศรีปทุม​ ​ยัง​เลือกเฟ้นนักวิชาการ​ผู้​ทรงคุณวุฒิ​ ​ตลอดจนคณาจารย์ที่​เปี่ยม​ด้วย​ประสบการณ์ด้าน​ความ​รู้​ทั้ง​ทฤษฎี​และ​ปฏิบัติ​ ​ที่มีชื่อเสียงโดดเด่นเฉพาะทาง​ใน​แวดวงแอนิ​เมชัน​และ​เกมมาถ่ายทอดแก่นักศึกษา​โดย​เฉพาะ​

“​ปริญญาของคณะดิจิทัลมี​เดีย​ ​ทั้ง​สองสาขา​ยัง​มี​ความ​แตกต่าง​กัน​เพื่อบ่งบอกคุณลักษณะที่​โดดเด่นทางวิชาชีพของบัณฑิตอย่างชัดเจน​ ​ได้​แก่​ ​สาขาดิจิตอลอาร์ตส์​ ​เรามอบปริญญาตรีด้าน​ ‘​ศิลปกรรมศาสตรบัณทิต​’ ​ส่วน​สาขา​แอนิ​เมชัน​และ​เกม​นั้น​ ​จะ​ได้​รับปริญญาตรีทางด้าน​ ‘​วิทยาศาสตรบัณฑิต​’ ​ทั้ง​นี้​ ​เพื่อการตอบรับของตลาดแรงงานที่ตรง​กับ​สาขาวิชาที่นักศึกษา​ได้​เล่า​เรียนมาอย่างแท้จริง​” ​ดร​.​กมล​ ​กล่าวทิ้งท้าย​

ทางมหาวิทยาลัยศรีปทุม​ ​วางแผนจัดเวิร์คช็อปสำ​หรับกลุ่มนักเรียนที่สนใจว่า​ ​การเรียนการสอนของคณะนี้​เป็น​อย่างไร​ ​ใน​ระหว่างวันที่​ 26 – 27 ​เมษายน​ 2551​และ​วันที่​ 10 - 11 ​พฤษภาคม​ 2551 ​ผู้​สนใจ​สามารถ​สอบถาม​ได้​ที่​ 02- 579-1111

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น