วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

จิตตานุภาพ



จิตตานุภาพ​ คืออานุภาพของจิต​ ​แบ่ง​เป็น​ ๓ ​ประ​เภท​ ​คือ​
• ​จิตตานุภาพบังคับตนเอง​
• ​จิตตานุภาพบังคับ​ผู้​อื่น​
• ​จิตตานุภาพบังคับเคราะห์กรรม​

จิตตานุภาพบังคับตนเอง​
“ ​ตนของตนย่อม​เป็น​ที่พึ่งแก่ตนเอง​ ” ​เหตุนี้​จึง​ต้อง​หัดบังคับตนเอง​ ​ผู้​อื่น​ถึง​จะ​เป็น​ศัตรูก็​ไม่​เท่า​ตน​เป็น​ศัตรูต่อตนของตนเอง​ ​ถ้า​ยัง​ไม่​สามารถ​บังคับตนของตนเอง​ให้​ดี​ได้​แล้ว​ ​ก็อย่าหวังเลยว่า​จะ​บังคับ​ผู้​อื่น​ให้​ดี​ได้​

จิตตานุภาพบังคับตนเองมี​ ๗ ​ประการ​
บังคับ​ความ​หลับ​และ​ความ​ตื่น​
​การหัดนอน​ให้​หลับสนิท​เป็น​กำ​ลังสำ​คัญยิ่งนัก​ ​เหตุที่ทำ​ให้​นอน​ไม่​หลับมี​ ๒ ​ประการ​ ​คือ​
๑.๑ ​ร่างกาย​ไม่​สบายพอ​
​อาหารที่ย่อยยากก็​เป็น​เหตุ​ให้​ร่างกาย​ไม่​สบายพอ​ ​ควรนอนตะ​แคงข้างขวา​ ​ถ้า​นอนหงายก็ควร​ให้​เอียงขวานิดหน่อย​ ​ถ้า​ต้อง​การพลิกก็ควรพลิก​จาก​ขวานิดหน่อย​ ​แล้ว​กลับตะ​แคงขวาตามเดิม​ ​นอนย่อม​ให้​อวัยวะทุก​ส่วน​พักผ่อน​ ​อย่า​ให้​เกร็งตึง​และ​ไม่​ควรตะ​แคงซ้าย​
๑.๒ ​ความ​คิดฟุ้งซ่าน​
​เวลานอน​ถ้า​จิตฟุ้งซ่าน​ ​ควรคิด​ถึง​สิ่ง​ใด​สิ่งหนึ่ง​ ​แต่อย่างเดียว​ ​ครั้น​แล้ว​ก็​เลิกละ​ไม่​คิดสิ่ง​นั้น​ ​และ​ไม่​คิดอะ​ไร​อื่น​ต่อไปอีก​ ​กระทำ​ใจ​ให้​หมดจดเหมือนน้ำ​ที่​ใสสะอาด​
​ควรบังคับตัว​ให้​ตื่นตรงตามเวลาที่​ต้อง​การ​ ​ก่อนนอน​ต้อง​คิด​ให้​แน่​แน่ว​ ​สั่งตนเอง​ให้​ตื่นเวลา​เท่า​นั้น​ ​เมื่อ​ถึง​เวลาก็​จะ​ตื่น​ได้​เองตาม​ความ​ประสงค์​

ทำ​ความ​คิด​ให้​ปลอดโปร่ง​ ​ว่องไว​ ​ใน​เวลาตื่นขึ้น​ ​อย่า​ให้​เซื่องซึม​ “ ​ต้อง​เอา​ความ​คิด​ใน​เวลาตื่น​เช้า​ ​ไปประสานติดต่อ​กับ​ความ​คิดที่​เราทิ้ง​ไว้​เมื่อวันวานก่อนที่​จะ​นอนหลับ​ ” ​ก่อนนอนควรจดบันทึกกิจการที่​เรา​จะ​ต้อง​ทำ​ใน​วันรุ่งขึ้น​นั้น​ไว้​ใน​กระดาษแผ่นหนึ่งเสมอ​ ​พอตื่นขึ้นมาก็หยิบดู​เพื่อปลุก​ความ​คิด​ให้​ตื่น​
เปลี่ยน​ความ​คิด​ได้​ตาม​ต้อง​การ​ คือเมื่อ​ต้อง​การคิดอย่าง​ใด​ก็​ให้​คิด​ได้​อย่าง​นั้น​ ​ทิ้ง​ความ​คิด​อื่น​ ​ๆ​ ​หมด​ ​และ​เมื่อ​ไม่​ต้อง​การคิดอีกต่อไป​ ​จะ​คิดเรื่อง​อื่น​ก็​ให้​เปลี่ยน​ได้​ทันที​ ​และ​ทิ้งเรื่องเก่า​โดย​ไม่​เอา​เข้า​มาพัวพัน​ ​คือทำ​ใจ​ให้​เป็น​สมาธิ​อยู่​ที่กิจเฉพาะหน้า​ ​การเปลี่ยน​ความ​คิด​เป็น​เหตุ​ให้​ห้องสมองมี​เวลาพักชั่วคราว​ ​ทำ​ให้​สมองมีกำ​ลังแข็งแรงขึ้น​
สงบใจ​ได้​แม้​เมื่อตก​อยู่​ใน​อันตราย​ ​หรือ​ประสบทุกข์​ อย่า​ให้​เสียใจหมดสติสะดุ้ง​ ​ดิ้นรนจนสิ้นปัญญา​แก้​ไข​ ​เกิด​ความ​ท้อถอย​ไม่​ทำ​อะ​ไรต่อไป​ ​ความ​สงบ​ไม่​ตื่นเต้น​เป็น​เหตุ​ให้​เกิดปัญญาประกอบกิจ​ให้​สำ​เร็จ​ได้​สมหวัง​ ​เรา​จะ​แก้​ไขเหตุร้ายที่​เกิดขึ้นแก่​เรา​ได้​นั้น​ก็มีทาง​จะ​ทำ​อยู่​ ๒ ​ขั้น​
๔.๑ ​ต้อง​สงบใจมิ​ให้​ตื่นเต้น​
๔.๒ ​ต้อง​มี​ความ​มานะพยายาม​
วิธีสงบใจที่ดีที่สุด​ ​หายใจยาว​และ​ลึก​

เปลี่ยนนิสัย​ความ​เคยชินของตัว​จาก​ร้าย​เข้า​มาหาดี​ การขืนใจตัวเองชั่วขณะหนึ่งอาจ​เป็น​ผลดี​แก่ตัวเองตลอดชีวิต​ ​แต่การทำ​ตามใจตัวขณะ​เดียวก็อาจ​เป็น​ผล​ถึง​การทำ​ลายชีวิตของเรา​ได้​เหมือน​กัน​
ตรวจตราตัวของตัว​เป็น​ครั้งคราว​โดย​สม่ำ​เสมอ​ ให้​ทราบว่ากำ​ลังใจมั่นคงขึ้น​หรือ​ไม่​ ​ฝ่ายกุศลเจริญขึ้น​หรือ​ไม่​ ​ฝ่ายอกุศลลดน้อยเบาบางหมดสิ้นไป​หรือ​ไม่​ ​ใจ​ยัง​สะดุ้งดิ้นรนหวั่นไหว​อยู่​หรือ​ไม่​
ป้อง​กัน​รักษาตัว​ด้วย​จิตตานุภาพ​ การสะดุ้งตกใจ​หรือ​เสียใจ​ ​ความ​กลัว​ ​เป็น​เหตุ​ให้​เกิดโรค​และ​โรคกำ​เริบ​ ​และ​เป็น​เหตุ​ให้​คนดี​ ​ๆ​ ​ตาย​ได้​ ​คนไข้​ถ้า​ใจดีหาย​เร็ว​ ​ความ​ไม่​กลัวตายรอดอันตราย​ได้​มากกว่ากลัวตาย​ ​ความ​พยายาม​และ​อดทน​เป็น​เหตุ​ให้​สำ​เร็จสมประสงค์​

จิตตานุภาพบังคับ​ผู้​อื่น​
​จิตตานุภาพอย่างอ่อน​ ​สามารถ​ใช้​สายตา​ ​น้ำ​เสียง​และ​ด้วย​กระ​แสจิตประกอบคำ​พูด​ ​ซึ่ง​จะ​เป็น​เครื่องจูงใจคน​ให้​เชื่อฟัง​ ​ลักษณะ​ไม่​หวาดหวั่นครั่นคร้ามต่อใคร​ ​ๆ​ ​นั้น​ไม่​ใช่​ชีวิตหัวดื้อบึกบึน​ซึ่ง​ไม่​นับว่า​เป็น​จิตตานุภาพ​ ​ต้อง​เป็น​คนสุภาพสงบเสงี่ยม​ ​เคารพนบนอบต่อบุคคลที่ควรเคารพ​ ​แต่ทว่าหัวใจของคนชนิด​นั้น​ไม่​หวาดหวั่นเกรงกลัวใคร​ ​และ​สามารถ​แสดง​ให้​เห็นว่าตัว​เป็น​มนุษย์คนหนึ่ง​อยู่​ใน​โลก​ ​และ​เป็น​มนุษย์ที่รู้จักคิด​ ​รู้จักพูด​ ​รู้จักทำ​
​คนที่​สามารถ​เป็น​นายตนเอง​ ​ไม่​ตก​เป็น​ทาสของหัวใจคน​อื่น​ ​และ​สามารถ​ดึงดูดหัวใจคน​เข้า​มา​เชื่อฟังเกรงกลัว​นั้น​ ​ถ้า​สังเกต​ให้​ดี​แล้ว​จะ​เห็น​ได้​ว่ามีลักษณะ​ ๔ ​ประการ​
• ​สายตา​แข็ง​ ​มีอำ​นาจ​ใน​ตัว​
• ​เสียงชัดแจ่มใส​
• ​ท่าทางสงบเสงี่ยม​และ​เป็น​สง่า​
• ​รู้จักวิธีชักจูงหัวใจคน​ให้​หันมา​เข้า​ใน​คลอง​ความ​คิดของตัว​
​พยายามอ่านหนังสือหน้าหนึ่ง​โดย​ไม่​กะพริบตา​เลยทำ​ให้​สายตา​แข็ง​ได้​ ​อ่านหนังสืออย่างช้า​ ​ๆ​ ​ให้​ชัดถ้อยคำ​ทุก​ ​ๆ​ ​ตัว​และ​ให้​ได้​ระยะ​เสมอ​กัน​ทำ​ให้​เสียงชัดแจ่มใส​
​เวลาพูด​ ​พยายามพูด​ให้​เป็น​จังหวะอย่า​ให้​ช้าบ้าง​เร็ว​บ้าง​และ​ให้​ชัดถ้อยคำ​เสมอ​ ​ไม่​ให้​อ้อมแอ้ม​หรือ​กลืนคำ​เสียครึ่งหนึ่ง​ ​เป็น​การฝึกหัด​ให้​เสียงชัดเจนแจ่มใส​
บุคคลที่มีสง่า​ ​คือคนที่บังคับร่างกาย​ให้​อยู่​ใน​อำ​นาจหัวใจ​ได้​เสมอ​ ​มีท่าทางสงบเสงี่ยม​เป็น​สง่า​ไม่​แสดงอาการโกรธ​ ​เกลียด​ ​กลัว​ ​รัก​ ​ขมขื่น​ ​ตกใจ​ ​สะดุ้ง​ ​เศร้า​โศก​ ​ให้​ปรากฏ​ ​ไม่​ทำ​อิริยาบถเคลื่อนไหวอัน​ใด​โดย​ไม่​จำ​เป็น​ ​และ​โดย​บอก​ความ​กำ​กับ​ของใจ​ ​มีหน้าตา​แจ่มใส​ ​อิริยาบถสงบเสงี่ยม​เป็น​สง่า​อยู่​ทุกขณะ​ ​การเคลื่อนไหวทุกอย่างทำ​ด้วย​ความ​หนักแน่นมั่นคง​ ​อย่า​ให้​รวด​เร็ว​จน​เป็น​การหลุกหลิก​ ​หรือ​ผึ่งผายจน​เป็น​การเย่อหยิ่ง​ ​หรือ​อ่อนเปียกจน​เป็น​การเกียจคร้าน​ ใน​เวลายืน​ให้​น้ำ​หนักตัวถ่วง​อยู่​ทั่ว​ตัวเสมอ​ ​ไม่​ให้​ถ่วงแต่​ส่วน​ใด​ส่วน​หนึ่ง​
​รู้จัก​ใช้​วิธีชักจูงหัวใจคน​ให้​หัน​เข้า​มา​ใน​คลอง​ความ​คิดของเรา​
• ​หลีกเลี่ยง​ไม่​ให้​เกิดมีสิ่งที่​จะ​ชักจูง​ให้​เขา​ละทิ้งข้อแนะนำ​ของเรา​
• ​จูงใจ​เขา​ให้​หัน​เข้า​มา​ใน​ทางที่​เรา​ต้อง​การทุกที​

วิธีป้อง​กัน​ตัว​ไม่​ให้​จิตตานุภาพของ​ผู้​อื่น​บังคับเรา​ได้​
​ให้​ทำ​มโนคติ​ให้​เห็นประหนึ่งว่า​ ​กระ​แสดวงจิตของเรา​แผ่ซ่านป้อง​กัน​อยู่​รอบตัวเรา​ ​จิตตานุภาพของ​ผู้​อื่น​ไม่​สามารถ​จะ​เข้า​ถึง​ตัวเรา​ได้​ ​ให้​ทำ​เวลา​เข้า​นอนครั้งหนึ่ง​ ​และ​ขณะที่​อยู่​ใกล้​บุคคลที่​เราระ​แวงว่า​เขา​จะ​ใช้​จิตตานุภาพบังคับเรา​

จิตตานุภาพบังคับเคราะห์กรรม​
​เครื่องมือที่​จะ​ชักนำ​เอา​เคราะห์ดี​เข้า​มา​ ​คือ​ ​ความ​พยายามเข้มแข็ง​ไม่​ท้อถอยหนักแน่นระมัดระวัง​ ​เชื่อแน่​ใน​ความ​พากเพียรบากบั่นของตัว​ ​มัก​จะ​เป็น​คนเคราะห์ดี​อยู่​เสมอ​ ​และ​มีคุณสมบัติอย่าง​อื่น​อีกคือ​ ​ความ​มุ่งหมาย​และ​อย่า​ให้​นึก​ถึง​เคราะห์ร้าย​ ​ตั้ง​ความ​มุ่งหมาย​ถึง​ผลอัน​ใด​ใน​ชีวิต​ไว้​เท่า​นั้น​ ​เพื่อ​ให้​ก้าวหน้ามุ่งตรงไปจนบรรลุสมประสงค์​
​ความ​มุ่งหมายจำ​ต้อง​ให้​สูง​ไว้​เสมอ​ ​เพื่อ​จะ​ได้​มี​ความ​พยายามอย่างสูง​ด้วย​ ​แต่การก้าวไปสู่ที่มุ่งหมาย​นั้น​ ​ต้อง​ก้าวอย่างระมัดระวัง​ไม่​ก้าว​ให้​ผิด​ “ ​ควรมี​ความ​ปรารถนา​ให้​สูง​อยู่​เสมอ​ ​แต่​จะ​ต้อง​ระมัดระวังมิ​ให้​เดินพลาด​ ”
การ​ไม่​ยอมแพ้​เคราะห์ร้าย​ ​เป็น​เหตุ​ให้​เคราะห์ร้ายพ่ายแพ้​เองเมื่อประสบเคราะห์​
• ​จะ​ต้อง​ไม่​ให้​ใจเสีย​ ​เชื่อมั่น​ใน​ความ​รู้​ความ​สามารถ​ของตัว​ ​รวบรวมกำ​ลัง​ให้​พรั่งพร้อม​
• ​ตั้ง​ความ​มุ่งหมาย​ให้​ดี​และ​ตกลงแน่ว่า​จะ​มุ่งไปทางไหน​
• ​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​ให้​มากขึ้น​ ​กุมสติ​ให้​มั่น​ ​อย่างไรก็ดี​จะ​ปล่อย​ให้​เป็น​ไปตามยถากรรม​ ​ทำ​การต่อสู้ดังกล่าว​แล้ว​นั้น​ไม่​ได้​เป็น​อันขาด​


การต่อสู้​กับ​เคราะห์​
• ​จะ​ต้อง​สงบใจ​ ​ไม่​ตื่นเต้น​ ​ไว้​ใจตัว​และ​เชื่อแน่ว่า​ ​เรามีจิตตานุภาพ​เป็น​เครื่องมือรวมกำ​ลังสติปัญญาของเรา​ให้​พรั่งพร้อม​ ​เช่นเดียว​กับ​นายเรือที่​ไม่​รู้จักเสียใจ​ ​รวบรวมกำ​ลังเรือ​และ​กำ​ลังคน​ให้​บริบูรณ์​
• ​ต้อง​ยึดที่หมาย​ให้​แน่น​ ​กล่าวคือระลึก​ถึง​ผลที่​เรา​ต้อง​การบรรลุ​นั้น​ให้​แน่วแน่ยิ่งขึ้น​ ​เปรียบเสมือนนายเรือที่ตั้งเข็มทิศ​ให้​ตรง​ ​และ​ให้​รู้​แน่ว่า​จะ​ต้อง​การ​ให้​เรือบ่ายเบี่ยงไปทางไหน​
• ​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​ให้​มากยิ่งกว่า​เมื่อก่อน​จะ​เกิดเหตุร้ายอีกหลาย​เท่า​ ​และ​ความ​วินิจฉัยที่ถูก​ต้อง​ ​ทำ​ทางปฏิบัติของเรา​เหมือนอย่างหางเสือเรือ​ ​ที่​จะ​ช่วย​ให้​เรือบ่ายเบี่ยงไปทางทิศที่​ต้อง​การ​จะ​ไป​
• ​ไม่​สามารถ​จะ​ก้าวไปข้างหน้า​ได้​ก็อย่าถอยหลัง​ ​ให้​หยุด​อยู่​กับ​ที่​
• ​ให้​รู้สึกว่า​เคราะห์​นั้น​ทำ​ให้​เราดีขึ้น​ ​เป็น​ครูของเรา​ ​เป็น​ผู้​เตือนเรา​ ​เป็น​ผู้​ลวงใจเรา​ ​อย่า​เห็นว่า​เคราะห์กรรม​เป็น​ของเลว​ ​ไม่​น่าปรารถนา​ ​ควรคิดว่า​เป็น​ของดีที่ทำ​ให้​เรา​เข้มแข็งมั่นคงขึ้น​ ​ให้​รู้สึกเสมอว่า​เรา​เกิดมา​เรียน​ทั้ง​เคราะห์ร้าย​และ​เคราะห์ดี​ ​เคราะห์​เป็น​บทเรียนของเรา​ ​ที่​จะ​ทำ​ให้​เรา​แจ้งโลก​แล้ว​จะ​ได้​พ้นโลก​ ​ดังนี้​ ​จะ​ไม่​รู้จักเคราะห์ร้ายเลย​ใน​ชีวิต​


ที่มา
http://www.kanlayanatam.com/sara/sara61.htm

1 ความคิดเห็น:

  1. เพียบพร้อมด้วยเนื้อหาสาระล้วนๆ
    ปิดเทอมจะกลับมาเมนต์ยาวนะคะ

    ระหว่างนี้ขออ่านบำรุงสายตาไปพลางๆก่อนค่ะ แห่ะๆ

    ปล.สุขสันต์วันวาเลนไทน์ล่วงหน้านะคะคุณPCและคุณA

    ตอบลบ