คอลัมน์ จิต-ใจ-ดี ชวนคุย ต้องยอมรับว่า เศรษฐกิจ ของโลกและประเทศไทยกำลังหดตัวลงอย่างรุนแรง ปีนี้ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และการดำเนินการของธุรกิจคงส่งผลให้เห็นชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อเตรียมรับมือวิกฤติเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น จิต-ใจ-ดี ขอเสนอผลจากงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของผู้ประกอบการรายย่อยที่ประสบความสำเร็จสูงและต่ำว่าเป็นอย่างไร |
จากงานวิจัยการเปรียบเทียบภูมิหลังและลักษณะความเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จสูงและต่ำ ในกิจการ SMEs ฯ [1] ซึ่งได้ทำการ สัมภาษณ์ ส่งแบบสอบถาม และตรวจสอบผลกำไร/ขาดทุน ของผู้ประกอบกิจการในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยกลุ่มตัวอย่างกว่า 200 กิจการ เมื่อปี 2542 (หลังวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง 2540 2 ปี ) พบว่า
1) ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร คุณก็สามารถทำให้กิจการประสบการประสบความสำเร็จได้ เพราะ ภูมิหลังต่าง ๆ เช่น เชื้อชาติ ระดับการศึกษาสูงสุด สถานภาพสมรส อาชีพบิดามารดา และประสบการณ์ในการทำงานมาก่อนเปิดกิจการนั้น สำหรับผู้ที่ประสบความสำเร็จสูงและต่ำไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
2) มีลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ 9 ประการ ที่แยกกลุ่มผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จสูงออกจากผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จต่ำได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อันประกอบด้วย
- ใฝ่ความสำเร็จ
- กล้าริเริ่ม
- มีความมั่นใจในตนเอง
- สามารถจัดการความผิดพลาดล้มเหลว
- แสวงหาโอกาสใหม่ๆ
- มีแรงจูงใจและพลังในตนเอง
- มุ่งมันอดทน
- มีวิสัยทัศน์และตั้งเป้าหมายชัดเจน
- แสวงหาข้อมูลและความชียวชาญจากผู้อื่น
เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ก็ไม่ต้องตัดพ้อต่อชีวิตโชคชะตาและภูมิหลังที่เราไม่สามารถกลับไปเปลี่ยนแปลงมันได้ แต่มาเตรียมพร้อมสร้างเสริมลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ เพื่อเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ ฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจ กันดีกว่าครับ
ว่าแต่ว่า ลักษณะความเป็นผู้ประกอบการทั้ง 9 นี้ เพียงพอจริงหรือ และจะสร้างเสริมมันได้อย่างไร
ผู้อ่านคิดว่าอย่างไรครับ.....
จิต-ใจ-ดี ชวนคุยครั้งหน้า มาคุยต่อกันเรื่อง การสร้างลักษณะความเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จทั้ง 9 นี้ต่อดีกว่าครับ
อ้างอิง
1 การเปรียบเทียบภูมิหลังและลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ ระหว่างผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จสูงและต่ำ ในการดำเนินกิจการอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดกลาง ในจังเชียงใหม่, ภาสกร แช่มประเสริฐ, การค้นคว้าแบบอิสระ สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , 2542 (อ่านรายงานฉบับเต็ม จากห้องสมุด มช. ที่นี่)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น