- มีการศึกษาพบว่า คนที่รอบเอวเกิน จะนำไปสู่โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
- รอบเอวปกติ ในผู้หญิง ไม่ควรเกิน 80 เซนติเมตร หรือ 32 นิ้ว และ
ในผู้ชาย ไม่ควรเกิน 90 เซนติเมตร หรือ 36 นิ้ว - การวัดรอบเอว ที่ถูกต้อง
1. อยู่ในท่ายืน เท้าทั้ง 2 ห่างกัน ประมาณ 10 เซนติเมตร
2. ใช้สายวัด วัดรอบเอวโดยวัดผ่านสะดือ
3. วัดในช่วงหายใจออก (ท้องแฟบ) โดยให้สายวัดแนบลำตัว ไม่รัดแน่นและให้ระดับของสายวัดที่วัดรอบเอววางอยู่ในแนวขนานกับพื้น
คุณล่ะคะ ..มีรอบเอวเกิน รึเปล่า ?
วัดรอบเอว วัดสุขภาพ - วัดรอบเอว วัดสุขภาพเส้นรอบเอวของคนเรา นอกจากจะบ่งบอกถึงสัดส่วน โดยคะเนด้วยสายตาแล้ว ผลการศึกษายังพบว่า ปริมาณไขมันในช่องท้อง จะมีความสัมพันธ์กับ ขนาดเส้นรอบเอว และยังมีความสัมพันธ์ กับการเกิดโรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะฉะนั้น คนที่มีรอบเอวใหญ่ จะมีความเสี่ยง ในการเกิดโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองอุดตันหรือแตก และโรคหัวใจ การที่จะรู้ว่า เรามีไขมันสะสม ในอวัยวะช่องท้องมากแค่ไหน รู้ได้จากการวัดเส้นรอบเอว สำหรับผู้ชายที่มีรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว และผู้หญิงที่มีรอบเอวมากกว่า 32 นิ้ว ถือว่า "อันตราย" แล้ว
- ควบคุมน้ำหนัก ควบคุมรอบเอว กินอาหารสมดุล ควบคุมสัดส่วนปริมาณอาหาร กลุ่มข้าวแป้ง ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง นม ผลิตภัณฑ์นม และไขมัน ให้พอเหมาะในแต่ละวัน โดยผู้หญิง ควรได้รับพลังงานวันละ 1,600 แคลอรี ส่วนผู้ชาย วันละ 2,000 แคลอรี
- กินอาหารเช้าทุกวัน เพราะมื้อเช้าเป็นมื้อหลัก เพื่อกระจายปริมาณพลังงานอาหาร ให้พอเหมาะ กับความต้องการ ของร่างกาย นอกจากนั้น จะช่วยให้ร่างกายไม่หิวมาก ในช่วงบ่าย และควบคุมอาหารมื้อเย็น ให้กินได้น้อยลงได้
- กินอาหารแต่พออิ่มในแต่ละมื้อ ไม่ควรบริโภคจนอิ่มมากเกินไป
- กินอาหารธรรมชาติ ไม่แปรรูป เช่น เมล็ดธัญพืช กลุ่มข้าวแป้ง ได้แก่ ข้าวกล้อง เผือก มัน ข้าวโพด กลุ่มน้ำมัน ได้แก่ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ถั่ว งา เป็นต้น เพราะมีวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหารสูง
- กินผักและผลไม้ไม่หวานให้มากพอ และครบ 5 สี คือ สีน้ำเงิน ม่วง แดง เขียว ขาว เหลืองส้ม และแดง เพื่อเพิ่มวิตามิน เกลือแร่ และเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันโรค จากสารเม็ดสีในผัก ผลไม้
- กินอาหารมื้อเย็นแต่วัน เวลา สำหรับอาหารมื้อเย็น ควรห่างจากเวลานอน ไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง เพราะในช่วงเวลานอนหลับ ระบบประสาทสั่งงาน ให้ร่างกายพักผ่อน เกิดการสะสมไขมัน ในอวัยวะช่องปากมากขึ้น
- กินเป็น คือ รู้จักหลีกเลี่ยงอาหารมันจัด หวานจัด และเค็มจัด อาหารในรูปไขมัน น้ำมัน มาการีน น้ำตาล แป้ง และเกลือ เช่น เค้ก คุ้กกี้ มันฝรั่งทอด โรตี และของดอง เป็นต้น
- นอกจากควบคุมการกินอาหารแล้ว การออกกำลังกาย ยังเป็นการลดไขมันหน้าท้อง ได้เป็นอย่างดี โดยควรออกกำลังกายที่ชื่นชอบ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละไม่น้อยกว่า 30 นาที หากเราสามารถลดน้ำหนักตัวได้ 5-10% ของน้ำหนักไขมัน ในช่องท้อง จะลดลงไปได้ถึง 30% แต่ทั้งนี้ ต้องอาศัยความมุ่งมั่น และตั้งใจจริง นอกจากจะต่อสุขภาพแล้ว ยังทำให้บุคลิกของเรา ดูดีขึ้นอีกด้วย
- ที่มา : จดหมายข่าว กรมอนามัย ปีที่7 ฉบับที่3
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น