คอลัมน์ จิต-ใจ-ดี ชวนคุย สวัสดีปีใหม่ ผู้ที่แวะมาเยี่ยมชม ชุมชน จิต-ใจ-ดี แห่งนี้ทุกท่านครับ สัปดาห์นี้ผมมาเขียนต่อ เรื่องลักษณะความเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จที่เขียนค้างไว้ในครั้งก่อน |
หนึ่งในลักษณะความเป็นผู้ประกอบการที่ผมคิดว่า สำคัญมากในยามที่เกิดวิกฤติเช่นนี้ คือความสามารถในการจัดการกับความผิดพลาดล้มเหลว พูดแล้วเหมือนจะง่ายก็แค่จัดการกับสิ่งที่ผิดพลาดแค่นั้น แ่ต่ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ง่ายอย่างที่พูดเลย เพราะเราไม่รู้ว่าความผิดพลาดนั้นจะแก้อย่างไร และหลายคนมักยึดติดกับปัญหาหรือความผิดพลาดและยิ่งจมปลักกับปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ
ลองเปลี่ยนมุมมองใหม่
สังเกตุการเก็บดาบของท่านจั่นเจา ( จาก youtube.com )
เห็นไหมครับ
เห็นความผิดพลาดไหมครับ
และเห็นวิธีแก้ไขความผิดพลาดไหมครับ
จั่นเจาเก็บดาบไม่เข้าฝัก แต่ต้องทำเนียน ถ่ายต่อไปเรื่อย ๆ เพราะถ้าหยุดหรือโวยวายขึ้นมา ทุกคนก็ต้องเริ่มฉากนี้กันใหม่ เสียเงิน และเสียเวลา และตัวจั่นเจาเองก็อาจจะเฉลียวใจได้ว่ากล้องอาจจะไม่ได้จับอยู่ที่ดาบของเขา ลองคิดดูกรณีที่การเก็บดาบของจั่นเจาอยู่นอกกรอกภาพ การโวยวายว่าดาบไม่เข้าฝักนั้นก็มีแต่เสียกับเสีย เขาจึงแกล้งทำเนียนทำทีว่าเก็บดาบเข้าฝักไปแล้ว ฉากนี้ถ้าไม่สังเกตุกันจริง ๆ ก็คงไม่เห็น
เรืื่องนี้สอนให้ผมรู้ว่า
1) คนเรามันก็พลาดกันได้ อยู่ที่ว่า จะแก้สถานการณ์ไปได้อย่างไร ต่างหาก
2) ความผิดพลาดเกิดขึ้นแล้ว ต้องเข้าใจกับมันให้ชัดเจน ว่ามันเป็นความผิดพลาดของใคร จากอะไร มีผู้ที่จะได้รับผลกระทบคือใครบ้าง
3) มีวิธีแก้ไข ปกปิด หรือทำให้ ปัญหามันเล็กลง หรือหายไปได้หรือไม่ เพราะหลายครั้งที่เราพยายามแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มปัญหามากกว่าจะลดปัญหาลง
4) คิดให้เร็ว และแก้ปัญหาให้ไว ถ้ามัวแต่เงอะงะ ไม่ทันกิน และปัญหาจะบานปลายจนแก้ไม่ได้
ผู้อ่านหล่ะครับ ได้ข้อคิดอะไรจากเรื่องนี้อีก....
สำหรับผมแล้ว ขอยกนิ้วให้ เหอเจียจิ้ง ผู้รับบทเป็นจั่นเจา ที่มีลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในการจัดการความผิดพลาดและล้มเหลวได้เป็นอย่างดี
แล้วคุยกันใหม่ ใน จิต-ใจ-ดี ชวนคุยครั้งหน้า กับลักษณะความเป็นผู้ประกอบการด้านที่เหลืออยู่ ครับ
ภาสกร (pC)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น