วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2551

กระบวนการทางปัญญา

โดย​…………​ศ​.​นพ​.​ประ​เวศ​ ​วะสี

๑. ​ฝึกสังเกต​ ​สังเกต​ใน​สิ่งที่​เรา​เห็น​ ​หรือ​สิ่งแวดล้อม​ ​เช่น​ ​ไปดูนก​ ​ดูผี​เสื้อ​ ​หรือ​ใน​การทำ​งาน​ ​การฝึกสังเกต​จะ​ทำ​ให้​เกิดปัญญามาก​ ​โลกทรรศน์​ ​และ​วิธีคิด​ ​สติ​-​สมาธิ​ ​จะ​เข้า​ไปมีผลต่อการสังเกต​ ​และ​สิ่งที่สังเกต

๒. ​ฝึกบันทึก​ ​เมื่อสังเกตอะ​ไร​แล้ว​ควรฝึกบันทึก​ ​โดย​จะ​วาดรูป​หรือ​ ​บันทึกข้อ​ความ​ ​ถ่ายภาพ​ ​ถ่ายวีดิ​โอ​ ​ละ​เอียดมากน้อยตามวัย​และ​ ​ตามสถานการณ์การบันทึก​เป็น​การพัฒนาปัญญา​

๓. ​ฝึกการนำ​เสนอต่อที่ประชุม​ ​กลุ่ม​ เมื่อ​ ​มีการทำ​งานกลุ่ม​ ​เรา​ ​ไปเรียนรู้อะ​ไรมาบันทึกอะ​ไรมา​ ​จะ​นำ​เสนอ​ให้​เพื่อน​หรือ​ครูรู้​เรื่อง​ ​ได้​อย่างไร​ ​ก็​ต้อง​ฝึกการนำ​เสนอการนำ​เสนอ​ได้​ดี​จึง​เป็น​การพัฒนา​ ​ปัญญา​ทั้ง​ของ​ผู้​นำ​เสนอ​และ​ของกลุ่ม

๔. ​ฝึกการฟัง​ ​ถ้า​รู้จักฟังคน​อื่น​ก็​จะ​ทำ​ให้​ฉลาดขึ้น​ ​โบราณเรียกว่า​ ​เป็น​พหูสูตบางคน​ไม่​ได้​ยินคน​อื่น​พูด​ ​เพราะ​หมกมุ่น​อยู่​ใน​ความ​คิด​ ​ของตัวเอง​หรือ​มี​ความ​ฝังใจ​ใน​เรื่อง​ใด​เรื่องหนึ่งจนเรื่อง​อื่น​เข้า​ไม่​ได้​ ​ฉันทะ​ ​สติ​ ​สมาธิ​ ​จะ​ช่วย​ให้​ฟัง​ได้​ดีขึ้น

๕. ​ฝึกปุจฉา​-​วิสัชนา​ ​เมื่อมีการนำ​เสนอ​และ​การฟัง​แล้ว​ ​ฝึกปุจฉา​-​วิสัชนา​ ​หรือ​ถาม​-​ตอบ​ ​ซึ่ง​เป็น​การฝึก​ใช้​เหตุผล​ ​วิ​เคราะห์​ ​สังเคราะห์​ ​ทำ​ ​ให้​เกิด​ความ​แจ่มแจ้ง​ใน​เรื่อง​นั้นๆ​ ​ถ้า​เราฟังครู​โดย​ไม่​ถาม​-​ตอบ​ ​ก็​ ​จะ​ไม่​แจ่มแจ้ง

๖. ​ฝึกตั้งสมมติฐาน​และ​ตั้งคำ​ถาม​ ​เวลา​เรียนรู้อะ​ไรไป​แล้ว​ ​เรา​ ​ต้อง​สามารถ​ตั้งคำ​ถาม​ได้​ว่า​ ​สิ่งนี้คืออะ​ไร​ ​สิ่ง​นั้น​เกิด​จาก​อะ​ไร​ ​อะ​ไรมีประ​โยชน์​ ​ทำ​อย่างไร​จะ​สำ​เร็จประ​โยชน์อัน​นั้น​ ​และ​มีการ​ ​ฝึกการตั้งคำ​ถาม​ ​ถ้า​กลุ่ม​ช่วย​กัน​คิดคำ​ถามที่มีคุณค่า​และ​มี​ความ​ ​สำ​คัญ​ ​ก็​จะ​อยาก​ได้​คำ​ตอบ

๗. ​ฝึกการ​ค้น​หาคำ​ตอบ​ ​เมื่อมีคำ​ถาม​แล้ว​ก็ควรไป​ค้น​หาคำ​ตอบ​ ​จาก​หนังสือ​ ​จาก​ตำ​รา​ ​จาก​อินเตอร์​เน็ต​ ​หรือ​ไปคุย​กับ​คนเฒ่าคน​ ​แก่​ ​แล้ว​แต่ธรรมชาติของคำ​ถาม​ ​การ​ค้น​หาคำ​ตอบต่อคำ​ถามที่​ ​สำ​คัญ​จะ​สนุก​และ​ทำ​ให้​ได้​ความ​รู้มาก​ ​ต่าง​จาก​การท่องหนังสือ​ ​โดย​ไม่​มีคำ​ถาม​ ​บางคำ​ถามเมื่อ​ค้น​หาคำ​ตอบทุกวิถีทางจนหมด​ ​แล้ว​ก็​ไม่​พบ​ ​แต่ถาม​ยัง​อยู่​ ​และ​มี​ความ​สำ​คัญ​ ​ต้อง​หาคำ​ตอบต่อ​ ​ไป​ด้วย​การวิจัย

๘. ​การวิจัย​ ​การวิจัยเพื่อหาคำ​ตอบ​เป็น​ส่วน​หนึ่งของกระบวนการ​ ​เรียนรู้ทุกระดับการวิจัย​จะ​ทำ​ให้​ค้น​พบ​ความ​รู้​ใหม่​ ​ซึ่ง​จะ​ทำ​ให้​เกิด​ ​ความ​ภูมิ​ใจ​ ​สนุก​ ​และ​มีประ​โยชน์มาก

๙. ​เชื่อมโยงบูรณาการ​ ​ให้​เห็น​ความ​เป็น​ทั้ง​หมด​และ​เห็นตัวเอง​ ​ธรรมชาติของสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยง​ ​เมื่อเรียนรู้อะ​ไรมาอย่า​ให้​ความ​ ​รู้​นั้น​แยก​เป็น​ส่วน​ ​ๆ​ ​แต่ควร​จะ​เชื่อมโยง​เป็น​บูรณาการ​ให้​เห็น​ความ​เป็น​ ​ทั้ง​หมด​ใน​ความ​เป็น​ทั้ง​หมด​จะ​มี​ความ​งาม​ ​และ​มีมิติ​อื่น​ผุดบังเกิด​ ​ออกมา​เหนือ​ความ​เป็น​ส่วน​ ​ๆ​ ​และ​ใน​ความ​เป็น​ทั้ง​หมด​นั้น​มอง​ให้​ ​เห็นตัวเอง​ ​เกิดการรู้ตัวเองตาม​ความ​เป็น​จริง​ ​ว่าสัมพันธ์​กับ​ความ​ ​เป็น​ทั้ง​หมดอย่างไร​ ​จริยธรรม​อยู่​ที่ตรงนี้​ ​คือการเรียนรู้ตัวเองตาม​ ​ความ​เป็น​จริง​ ​ว่าสัมพันธ์​กับ​ความ​เป็น​ทั้ง​หมดอย่างไร
​ดัง​นั้น​ ​ไม่​ว่าการเรียนรู้อะ​ไร​ ​ๆ​ ​ก็มีมิติทางจริยธรรม​อยู่​ใน​นั้น​เสมอ​ ​มิติทางจริยธรรม​อยู่​ใน​ความ​เป็น​ทั้ง​หมดนั่นเอง​ ​ต่าง​จาก​การเอา​ ​จริยธรรมไป​เป็น​วิชา​ ​ๆ​ ​หนึ่งแบบแยก​ส่วน​ ​แล้ว​ก็​ไม่​ค่อย​ได้​ผล​ ​ใน​การบูรณาการ​ความ​รู้ที่​เรียนรู้มา​ให้​รู้​ความ​เป็น​ทั้ง​หมด​ ​และ​เห็นตัวเองนี้​ ​จะ​นำ​ไปสู่อิสรภาพ​และ​ความ​สุขอันล้นเหลือ​ ​เพราะ​ ​หลุดพ้น​จาก​ความ​บีบคั้นของ​ความ​ไม่​รู้​ ​การไตร่ตรองนี้​จะ​โยงกลับไป​ ​สู่วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ว่า​เพื่อลดตัวกู​-​ของกู​ ​และ​เพื่อการ​ ​อยู่​ร่วม​กัน​อย่างสันติ​ ​อัน​จะ​ช่วย​กำ​กับ​ให้​การแสวงหา​ความ​รู้​เป็น​ไป​ ​เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว​ ​มิ​ใช่​เป็น​ไปเพื่อ​ความ​กำ​เริบแห่งอหังการ​ ​มมังการ​ ​และ​เพื่อรบกวนการ​อยู่​ร่วม​กัน​ด้วย​สันติ

๑๐. ​ฝึกการเขียนเรียบเรียงทางวิชาการ​ ​ถึง​กระบวนการเรียนรู้​และ​ความ​รู้​ ​ใหม่​ที่​ได้​มาการเรียบเรียงทางวิชาการ​เป็น​การเรียบเรียง​ความ​คิด​ให้​ประณีต​ ​ขึ้น​ ​ทำ​ให้​ค้น​คว้าหาหลักฐานที่มาที่อ้างอิงของ​ความ​รู้​ให้​ถี่ถ้วนแม่นยำ​ขึ้น​ ​การเรียบเรียงทางวิชากร​จึง​เป็น​การพัฒนาปัญญาของตนเองอย่างสำ​คัญ​ ​และ​เป็น​ประ​โยชน์​ใน​การเรียนรู้ของ​ผู้​อื่น​ใน​วงกว้างออกไป

ที่มา www.budpage.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น