วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2550

การจดโน้ต (Lecture Note)

การจดบันทึกในห้องเรียน หรือ (Lecture Note)

แม้ว่าจะผ่านการเรียนกันมาหลายปี แต่ก็ยังไม่มีวิธีตายตัว

หลายคนจดโน้ตมาแล้วแต่อ่านของตัวเองไม่ได้ อ่านไม่รู้เรื่อง
ต้องไปยืมของเพื่อนมาอ่านอีก

ก็กลายเป็นว่าเสียเวลาในห้องเรียนที่จะจดโน้ต แ่ต่ก็เสียเวลาเปล่า
ครั้นจะไม่จดอะไรเลย ก็กลัวจะลืม



วันนี้ขอเสนอวิธีการ การจดโน้ตแบบเด็กคอร์เนล.....
(Cornell Note Taking Method)

การจดโน้ตนั้น คุณ Walter Pauk (1989) (from BYU website)
ได้กล่าวไว้ว่า มันประกอบไปด้วยหลักสำคัญ 6R อันประกอบด้วย

Record (บันทึก)
ให้จดบันทึกสิ่งที่ได้เรียน และสิ่งที่เป็นความคิดของคุณลงไป
แต่ไม่ต้องจดละเอียดทั้งหมด พยายามจดอย่างย่อ พยายามตัวย่อ หรือใช้สัญญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เพื่อให้จดบันทึกได้ไวขึ้น


Reduce (ย่อ)
หลังจากเรียนเสร็จ ก่อนนอนให้อ่านโน้ตของตัวเองอีกครั้ง หรือพยายามเขียนให้สมบูรณ์ขึ้น ให้ตัวเองอ่านได้เข้าใจมากขึ้น ถ้าสามารถสรุปความประเด็น หรือย่อประเด็น และสร้างคำสำคัญ ของเรื่องที่เรียนในหน้านั้นได้ด้วย ให้จดเพิ่มเติมไว้ข้าง ๆ ในการย่อความนี้อาจจะเกิดปัญหา จะได้ความคิดว่าโน้ตที่จดมานั้นบอกอะไรกับเรา จึงให้จดคำสำคัญ แผนภาพความคิด หรือปัญหาที่เกี่ยวข้องไว้ด้วย
(น่าจะใช้เวลาไม่เกินครึ่งชั่วโมง ต่อการเรียน 1 คาบ (1 ชั่วโมง 15 นาที) )

Recite (คิดใหม่)
อ่านทบทวนอีกรอบ ด้วยความเข้าใจของตัวเราเอง พยายามพูดหรือคิดในอีกมุมหนึ่งที่เป็นภาษาของตัวเอง ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย โดยดูจาก คำสำคัญ และคำถามที่ได้เคยตั้งไว้ พยายามหาคำตอบจากโน้ตที่จดมา
(อาจจะทำแค่สัปดาห์ละสองครั้ง หรือสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละประมาณครึ่งชั่วโมง)

Reflect
เป็นการสังเคราะห์ และเชื่อมโยงความรู้ เข้ากับความรู้อื่นที่เรามี พยายามคิดออกนอกตำรา หรือจากโน้ตที่จดมา เช่น
จะพัฒนาความรู้นี้ไปใช้จริงได้อย่างไร
เพราะเหตุใดเรื่องที่เราเรียนนี้ถึงมีความสำคัญ
เรื่องที่เรียนนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นที่เรียนมาอย่างไร
( อาจจะทำควบคู่ไปกับ Recite)

หลังจากทำ Recite และ Reflect แล้ว อาจจะจดเพิ่มเติม สามารถสรุปประเด็น และจดเพิ่มเติมได้ในส่วนข้างโน้ต (ที่เดียวกับที่จด Reduce)

Review
พยายาม อ่านทบทวนและทำการคิดใหม่ (Recite) โดยการดูโน้ตที่จดมาบ่อย ๆ อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง
หรือเดือนละครั้งก็ยังดี

Recapitulate (สรุป)
หลังจากได้ทำการ 5R ดังที่กล่าวมาแล้ว ถึงคราวใกล้จะสอบ หรือทำเมื่อความคิดกระจ่างชัดเจนแล้ว
รู้ว่าสิ่งที่จดมานั้นมีความคิดรวบยอด (main idea) เป็นอย่างไร ก็ให้จดสรุปไว้ด้านล่างของโน้ต


จากแนวคิด 6R นี้เห็นได้ว่า กระดาษโน้ตที่จดนั้น ควรจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1) ส่วนจดเนื่อหาในห้องเรียน
2) ส่วนจดด้านข้างสำหรับ คำัสำคัญ ย่อประเด็น คำถาม ที่เกิดจาก Reduce Process ข้างต้น
3) ส่วนจดความคิดสรุป (main idea) ด้านล่างของโน้ต




ตัวอย่าง

ผู้อ่านสามารถสร้าง Template ของกระดาษโน้ตแบบนี้ได้โดยอัตโนมัติ
คลิ๊ก ที่นี่
ผู้ใช้งานสามารถกรอกชื่อตัวเอง วิชาที่เรียน เวลาที่จดโน้ต แล้วให้ระบบสร้าง Template กระดาษโน้ตให้โดยอัตโนมัติ ก็พิมพ์ออกมา ใช้งานได้ทันที

สำหรับผู้เขียนเอง เลือกใช้ แบบ มีเส้นบรรทัดด้วย และ มี 3 บรรทัดต่อนิ้ว คิดว่ากำลังดี
และไม่เลือกแบบเว้นที่เจาะรู เพราะมันไม่ตรงกับเครื่องเจาะที่มี


Reference:

http://lifehacker.com <- ข้อมูลหลัก

http://ccc.byu.edu/learning/ <- ข้อมูลเรื่อง 6R

http://eleven21.com/notetaker <- template generator website


หมายเหตุ

ข้อความนี้อ้างอิงกระดาษจดโน้ตระบบของอเมริกา ที่ใช้กระดาษขนาด letter size (8.5*11 นิ้ว)
สำหรับเมืองไทยที่ใช้กระดาษแบบ A4 (210*297mm) การจัดหน้ากระดาษอาจจะไม่ตรง ขอให้ผู้อ่านประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม

1 ความคิดเห็น: