วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2550

กรรมฐาน


" กรรมฐาน เป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ถึงกับกล่าวได้ว่า ผู้ใดยังไม่เข้าใจหรือยังไม่ปฏิบัติกรรมฐานผู้นั้นชื่อว่ายังไม่รู้จักพระพุทธศาสนา "

โดยรากศัพท์แล้ว กรรมฐาน หมายถึง ที่ตั้ง(ฐาน) แห่ง กรรม นั่นเอง นอกจากจะเรียกว่ากรรมฐานแล้ว ก็มีศัพท์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ภาวนา" ซึ่งหมายถึงการอบรมใจ หรือการพัฒนาจิต

กรรมฐานหรือภาวนานี้ แบ่งได้เป็น 2 อย่างคือ

1 สมถกรรมฐาน หรือ สมถภาวนา

2 วิปัสนากรรมฐาน หรือ วิปัสนาภาวนา

การปฏิบัติ สมถกรรมฐาน นั้นเื่พื่อทำให้จิตใจสงบ ส่วน วิปัสนากรรมฐาน นั้นเพื่อให้เกิดปัญญา เพื่อกำจัดอวิชชาอันเป็นต้นตอของกิเลสทั้งปวงในที่สุด

การปฏิบัิติสมถกรรมฐานมีวิธีปฏิับัติถึง 40 วิธี ผู้ปฏิบัติสามารถเลือกปฏิบัติที่เหมาะกับจริตของตนได้ สำหรับในประเทศไทยนิยมปฏิบัติ อานาปานสติภาวนา (ภาวนา ยุบหนอ-พองหนอ, พุท-โธ, นับเลข) ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการปฏิบัติสมถกรรมฐาน ขั้นต้น ทุกคนสามารถฝึกได้โดยง่าย เพราะมีลมหายใจกันทุกคน

รายละเอียดเกี่ยวกับการพิจารณาจริตของตน และ สมถกรรมฐานแบบต่างๆ จะนำมาอธิบายในลำดับถัดไป


ส่วนวิปัสนากรรมฐาน นั้นดูเหมือนจะเป็็นการปฏิบัติขั้นสูงถัดไปจากสมถกรรมฐาน ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาหาอ่านได้จากหนังสือ ของพระอาจารย์ทูล ชิปปญโญ ซึ่งจะพยายามนำมาเผยแพร่ที่นี่ในลำดับถัด ๆ ไป



ข้อเขียนนี้ อ้างอิง จากหนังสือ การพัฒนาจิต โดย พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณโณ) ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมการพัฒนาจิตที่เป็นขั้นเป็นตอนดีที่สุดเล่มหนึ่งในขณะนี้ คุ้มค่าอย่างที่สุดกับราคา 190 บาท

" จิตวิทยาทางพระพุทธศาสนา ว่าด้วยจิตภาวนา ในท่ามกลางวัตถุ วิทยาการสมัยใหม่ และท่ามกลางความขัดแย้ง "

1 ความคิดเห็น: