วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ความสุข

( สืบเนื่องจากบทความเมื่อวาน บางทีบทความนี้อาจจะเป็นคำตอบของบทความเมื่อวานได้ )

"ความสุขแยกออกได้เป็นสองแบบ สุขพึงใจ (Happiness) กับสุขชื่นใจ (ฺBliss)

สุขพึงใจเป็นความสบาย เช่น การได้กินอาหารอร่อย คนรอบข้างน่ารัก แน่นอนมันรวมการได้รถยนต์คันใหม่ เลื่อนตำแหน่ง เงินเดือนขึ้น ขายหุ้นได้ราคาดี การมีคู่ครองที่ดี เป็นความพึงใจที่ผูกกับวัตถุและ/หรือสภาวะภายนอก เมื่อวัตถุหรือสภาวะภายนอกนั้นเสื่อมสลาย สุขพึงใจก็ลอกเปลือกออกเห็นตันตนภายในคือทุกข์

สุขชื่นใจลึกซึ้งกว่านั้นมาก สุขชื่นใจซื้อหาไม่ได้ เพราะเป็นความรู้สึกและตัวตนภายใจ

ขณะที่สุขพึงใจคือการรับ สุขชื่นใจคือการให้
ขณะที่สุขพึงใจคือความดื่มด่ำ สุขชื่นใจคือความเข้าใจ

การเข้าสู่สภาวะนิพพานทางพุทธ หรือซาโตริทางเซน ก็คือความเข้าใจที่ก่ำให้เกิดสุขชั้นสูง อันปูฐานมาจากการรู้จักพอ

ปรัชญาพุทธสอนให้มองความสุขว่าเป็นความเข้าใจสภาวะของตัณหา เมื่อเข้าใจก็เกิดความสันโดษ พอเีพียง ชีวิตก็เรียบง่าย

ความสุขชื่นใจเกิดมาจากสติความรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตด้วยความเยือกเย็น ไม่ร้อนรน และสงบเสงี่ยม ทว่านี่ไม่ใช่คุณสมบัติที่ได้มาง่าย ๆ ต้องผ่านประสบการณ์ การทดสอบ และความทุกข์ โดยเฉพาะในสังคมปัจจุับันที่หล่อมหลอมคนให้ไขว่คว้าหาความสุขตามแนวทางที่การตลาดกำหนด ตัณหาใหม่ ๆ ถูกสร้างขึ้นตามจุดหมายแห่งกำไรสูงสุด

เนื่องจากสุขไม่ใช่สสาร การผูกตัวเองกับวัตถุนิยมจึงเป็น 'ความสุข' ประเดี๋ยวประด๋าว เหมือนไฟไหม้ฟาง มาวูบเดียว ไปวูบเดียว"




วินทร์ เลียววาริณ, ความผันโง่ ๆ หนังสือเสริมกำลังใจชุด 2, หน้า 212
คัดมาทั้งหน้าอย่างไม่ตัดตอนและเสริมความ

หนังสือเล่มนี้ดี เป็นบทความสั้น ๆ หลาย ๆ เรื่อง ได้ทั้งความรู้และข้อคิด เหมาะอย่างยิ่งในการเก็บไว้ในห้องน้ำ เวลาที่ใช้อ่านหนึ่งบทสมควรแก่เวลาในการถ่ายทุกข์ ไม่มากไม่น้อยเกินไป

2 ความคิดเห็น:

  1. อืม...สรุปแล้วคนเขียนมีฟามสุขแบบไหนอ่ะ

    โปรดตอบด้วย..

    จาก...เลขาธิการ คมช.

    ตอบลบ
  2. นั่นสิ

    ความสุข?

    มีหรือเปล่ายังไม่แน่ใจเลย

    ฮา

    ตอบลบ